วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

พิษบาทแข็งลาม​​​ถึง"​​​รากหญ้า​​" ​​ทุบสินค้า​​​เกษตรร่วง​​-​​โละคนงานพุ่ง

​เอกชนจวกยับรัฐบาล​​​ไม่​​​ยอมรับปัญหา​​ "ค่าบาทแข็ง" ​​แก้​​​ไม่​​​ถูกจุด​​ ​​หวั่นพิษบาทแข็งลามหนักมีสิทธิ์กระทบ​​​ถึง​​​รากหญ้า​​-​​เกษตรกร​​ ​​จี้​​​แก้ชักช้ารากหญ้ากลาย​​​เป็น​​ "รากเน่า​​" ​​แน่​​ ​​ด้านอุตสาหกรรมสะ​​​เทือนหนักนักธุรกิจโวย​​ "ทูน่า​​-​​สิ่งทอ​​-​​อาหาร" ​​อ่วม​​ ​​เริ่มออกอาการลดกำ​​​ลังการผลิต​​ ​​ปลดคนงานระนาว​​ ​​หวั่นแรงงานกลุ่มนี้อีกกว่า​​ 1 ​​ล้านคนโดนลอยแพเพิ่ม​​ ​​รวม​​​ทั้ง​​​ย้ายฐานการผลิต​​​และ​​​นำ​​​เข้า​​​วัตถุดิบทดแทนมากขึ้น​​ ​​ระวังอนาคตธุรกิจที่​​​เชื่อมโยงต้นน้ำ​​-​​ปลายน้ำ​​​ตาย​​​ทั้ง​​​ยวง​​ ​​ส่วน​​​ท่องเที่ยววูบ​​ ​​ญี่ปุ่นหนี​​​แต่คนไทยไปญี่ปุ่นมากขึ้น

จาก​​​บทวิ​​​เคราะห์ฝ่ายวิชาการ​​ ​​ธนาคารเพื่อการส่งออก​​​และ​​​นำ​​​เข้า​​​แห่งประ​​​เทศไทย​​ (ธสน​​.) ​​ให้​​​ข้อมูลว่า​​ ​​มูลค่าการส่งออกของไทย​​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนของปีนี้​​​เพิ่มขึ้น​​​จาก​​ "ปริมาณ" ​​มากกว่า​​ "ราคา​​" ​​โดย​​​ปริมาณเพิ่มขึ้น​​ 12% ​​ขณะที่ราคา​​​เพิ่มขึ้น​​ 5% ​​และ​​​เมื่อเทียบ​​​กับ​​​ค่า​​​เงินบาทที่​​​แข็งค่าขึ้นราว​​ 10% ​​จาก​​​ช่วงเดียว​​​กัน​​​ของปีก่อน​​ ​​สะท้อน​​​ถึง​​​ราคา​​​ใน​​​รูปเงินบาทที่ลดลง​​ ​​แต่​​​ผู้​​​ส่งออกจำ​​​เป็น​​​ต้อง​​​ส่งออก​​​ใน​​​ภาวะที่ตลาด​​​ใน​​​ประ​​​เทศหดตัวลงเพื่อรักษาระดับการผลิต​​​และ​​​กิจการ​​​และ​​​ลูกค้า​​​ไว้​​

รายงานระบุว่า​​ ​​การส่งออกสูงแต่​​​ผู้​​​ส่งออกกลับมีกำ​​​ไรน้อยลง​​ ​​สังเกต​​​ได้​​​จาก​​​แม้มูลค่าส่งออก​​​ใน​​​เทอมดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น​​ 18.4% ​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนแรก​​ ​​แต่มูลค่าส่งออก​​​ใน​​​รูปเงินบาท​​​ใน​​​ช่วงเดียว​​​กัน​​​เพิ่มขึ้นเพียง​​ 7% ​​และ​​​หากพิจารณาการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกตั้งแต่ต้นปี​​ 2550 ​​พบว่ามูลค่าส่งออก​​​เป็น​​​ดอลลาร์สหรัฐ​​ ​​ขยายตัวสูงกว่ามูลค่าส่งออก​​​เป็น​​​บาทกว่า​​ 10% ​​ทุกเดือน​​ ​​สะท้อนว่า​​​ผู้​​​ส่งออกมีกำ​​​ไรบางลงมาก​​​จาก​​​เงินบาทที่​​​แข็งค่า

ผู้​​​ประกอบการขนาดกลาง​​​และ​​​ขนาด​​​เล็ก​​​ได้​​​รับผลกระทบมากกว่า​​​ผู้​​​ประกอบการราย​​​ใหญ่​​ ​​เมื่อแบ่งกลุ่ม​​​ผู้​​​ส่งออกตามขนาดมูลค่าส่งออก​​​และ​​​แยก​​​เป็น​​​ผู้​​​ส่งออกคนไทย​​ 45% ​​และ​​​ต่างชาติ​​ 55% ​​ของมูลค่าส่งออก​​​ทั้ง​​​ประ​​​เทศ​​ ​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนแรกสินค้าส่งออก​​​ส่วน​​​ใหญ่​​​เป็น​​​ผู้​​​ประกอบการขนาด​​​ใหญ่​​​และ​​​เป็น​​​ของต่างชาติ​​​ยัง​​​ไป​​​ได้​​​ดี​​​เนื่อง​​​จาก​​​มี​​ import content ​​สูง​​ ​​และ​​​มีการป้อง​​​กัน​​​ความ​​​เสี่ยง​​​จาก​​​ความ​​​ผันผวนค่า​​​เงิน​​​เป็น​​​อย่างดี​​ ​​ได้​​​แก่สินค้าอิ​​​เล็ก​​​ทรอนิกส์​​ (มีสัด​​​ส่วน​​ import content 83.2%) ​​เครื่อง​​​ใช้​​​ไฟฟ้า​​ (82%) ​​รถยนต์​​ ​​อุปกรณ์​​​และ​​​ส่วน​​​ประกอบ​​ (66%) ​​จึง​​​ได้​​​รับผลกระทบ​​​ไม่​​​รุนแรง​​​จาก​​​ค่า​​​เงินบาทแข็ง​​ ​​ขณะที่สินค้า​​​ส่วน​​​ใหญ่​​​ที่​​​เป็น​​​ของคนไทยขนาดกลางลงไปมีอำ​​​นาจต่อรองต่ำ​​​ใน​​​การกำ​​​หนดราคาส่งออก​​ ​​แบกรับภาระกำ​​​ไรต่ำ​​​เพราะ​​​เน้นปริมาณส่งออก​​ ​​ซึ่ง​​​อาจ​​​อยู่​​​ได้​​​ไม่​​​นาน​​ (ดูกราฟ) ​​และ​​​ส่วน​​​ใหญ่​​​เป็น​​​สินค้า​​​เกษตร​​ ​​ได้​​​แก่สินค้า​​​เกษตร​​​และ​​​อุตสาหกรรมเกษตร​​ (มี​​ import content ​​น้อยกว่า​​ 20%) ​​ผลิตภัณฑ์ยาง​​ (21.6%) ​​เคมีภัณฑ์​​ (29%) ​​ไม้​​​และ​​​เฟอร์นิ​​​เจอร์​​ (30.5%) ​​อัญมณี​​​และ​​​เครื่องประดับ​​ (46.8%)

หากเงินบาท​​​ยัง​​​คงแข็งค่าต่อไป​​ ​​และ​​​แข็งค่ามากเมื่อเปรียบเทียบ​​​กับ​​​คู่​​​แข่งสำ​​​คัญ​​ ​​ซึ่ง​​​จะ​​​ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม​​​อื่นๆ​​ ​​ที่​​​เกี่ยว​​​เนื่อง​​​เป็น​​​ลูกโซ่​​​ถึง​​​อุตสาหกรรมต้นน้ำ​​​และ​​​เกษตรกร​​ ​​เนื่อง​​​จาก​​​ผู้​​​ส่งออก​​​ต้อง​​​ผลักภาระ​​​ไป​​​ให้​​ ​​ด้วย​​​การต่อรองราคาวัตถุดิบเพื่อ​​​ให้​​​สามารถ​​​ดำ​​​เนินธุรกิจต่อไป​​​ได้​​ ​​ผลกระทบ​​​ใน​​​เชิงมหภาคก็​​​จะ​​​เกิดขึ้น​​​และ​​​ซ้ำ​​​เติมเศรษฐกิจ​​​โดย​​​รวม​​ ​​หากอุตสาหกรรมต้นน้ำ​​​และ​​​เกษตรกรถูกกดราคามาก​​ ​​อาจ​​​จะ​​​กระทบต่ออุปทานวัตถุดิบ​​​และ​​​ส่งต่อ​​​เนื่อง​​​กับ​​​การผลิต​​​และ​​​การส่งออก​​ ​​เงื่อนไขการส่งออก​​​โดย​​​เน้นปริมาณเพื่อรักษากำ​​​ไร​​​ไว้​​ ​​ขณะที่ราคาขยับขึ้น​​​ไม่​​​ได้​​​ก็​​​จะ​​​ถูกกระทบ​​ ​​เมื่อ​​​ถึง​​​เวลา​​​นั้น​​​มูลค่าส่งออกอาจ​​​จะ​​​กระทบ​​​จาก​​​ทั้ง​​​ปัจจัยด้านปริมาณ​​​และ​​​ราคาควบคู่​​​กัน​​​ไป

ยิ่งไปกว่า​​​นั้น​​ ​​นอก​​​จาก​​​ประ​​​เด็นการต่อรองราคาวัตถุดิบ​​​จาก​​​อุตสาหกรรมต้นน้ำ​​​และ​​​เกษตรกร​​​แล้ว​​ ​​ผู้​​​ส่งออกบาง​​​ส่วน​​​อาจแก้ปัญหา​​​ด้วย​​​การนำ​​​เข้า​​​วัตถุดิบแทนการ​​​ใช้​​​วัตถุดิบ​​​ใน​​​ประ​​​เทศ​​ ​​ภาวะดังกล่าว​​​จะ​​​กระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื่อมโยง​​​ใน​​​ประ​​​เทศ​​ ​​และ​​​ผู้​​​ผลิต​​​ใน​​​อุตสาหกรรมต้นน้ำ​​​จะ​​​ยิ่ง​​​ได้​​​รับผลกระทบ​​​เพราะ​​​ส่งออก​​​ไม่​​​ได้​​​ขณะที่​​​ไม่​​​มีตลาด​​​ใน​​​ประ​​​เทศรองรับ

ตัวอย่างที่​​​เกิดขึ้น​​​แล้ว​​​คืออุตสาหกรรมรองเท้า​​ ​​ใน​​​ปี​​ 2550 ​​มีการนำ​​​เข้า​​​วัตถุดิบที่​​​ใช้​​​ใน​​​การผลิต​​ ​​เช่น​​ ​​หนัง​​ ​​สิ่งทอ​​ ​​เคมีภัณฑ์มากขึ้น​​ ​​จนปัจจุบันสัด​​​ส่วน​​​การนำ​​​เข้า​​​ต่อวัตถุดิบ​​​ใน​​​ประ​​​เทศสูง​​​ถึง​​ 70:30 ​​เทียบ​​​กับ​​​ปี​​ 2549 ​​ที่สัด​​​ส่วน​​​ดังกล่าว​​​อยู่​​​ที่​​ 50:50 ​​อุตสาหกรรมสิ่งทอ​​ ​​สินค้าปลายน้ำ​​ ​​เช่นหันไปนำ​​​เข้า​​​ผ้าผืนแทน​​ ​​สินค้ากลางน้ำ​​ ​​เช่นผ้าผืนหันไปนำ​​​เข้า​​​เส้นใยแทนวัตถุดิบ​​​ใน​​​ประ​​​เทศ​​

บาทแข็งลงลึกหวั่นรากหญ้า​​​เปื่อย

นายนิพนธ์​​ ​​บุญญามณี​​ ​​ประธานกรรมการบริหาร​​ ​​บริษัท​​ ​​สยามอินเตอร์​​​เนชั่นแนลฟู๊ด​​ ​​จำ​​​กัด​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​ใน​​​แง่ของเกษตรกร​​ ​​ผู้​​​เลี้ยงกุ้ง​​ ​​ข้าว​​ ​​ยางพารา​​ ​​มันสำ​​​ปะหลัง​​ ​​ล้วนแต่​​​เป็น​​​ผู้​​​อ่อนแอ​​ ​​ไม่​​​สามารถ​​​ที่​​​จะ​​​ปกป้องตนเอง​​​ได้​​ ​​ไม่​​​สามารถ​​​ที่​​​จะ​​​ไปซื้อประ​​​กัน​​​ความ​​​เสี่ยงค่า​​​เงินบาท​​​ได้​​ ​​สิ่งเหล่านี้ทางการ​​​จะ​​​ปล่อยไปตามยถากรรม​​​ไม่​​​ได้​​ ​​ต้อง​​​ลง​​ ​​มาดู​​​แล​​ ​​แม้​​​จะ​​​บอกว่า​​​ผู้​​​ส่งออกดู​​​แลตนเอง​​​ได้​​ ​​แต่อย่าลืมว่า​​​เกษตรกร​​​เขา​​​ป้อง​​​กัน​​​ตัวเอง​​​ไม่​​​ได้​​ ​​แม้วันนี้รัฐ​​​ต้อง​​​ใช้​​​เงินมหาศาล​​​ใน​​​การแทรกแซงค่า​​​เงินบาท​​ ​​แต่อย่างน้อยที่สุด​​​ต้อง​​​ให้​​​ความ​​​มั่นใจ​​​กับ​​​เกษตรกร​​/ ​​กลุ่ม​​​ผู้​​​ส่งออก​​​ได้​​​ว่า​​ ​​ค่าที่​​​แท้จริงของเงินบาท​​​จะ​​​อยู่​​​ระดับ​​​ใด​​ ​​รัฐ​​​จะ​​​ต้อง​​​ส่งสัญญาณ​​​ให้​​​เขา​​​มี​​​ความ​​​มั่นใจ​​

"พอเงินบาทแข็ง​​ ​​มันไปกระทบ​​​กับ​​​ราย​​​ได้​​ ​​ตอนนี้ก็​​​เริ่มลดกำ​​​ลังการผลิต​​ ​​แต่ที่กำ​​​ลังกังวลใจมากตอนนี้คือการตกลงซื้อขายมันยากขึ้นทุกวัน​​ ​​เราก็​​​ไม่​​​กล้าที่​​​จะ​​​รับออร์​​​เดอร์ลูกค้า​​ ​​เพราะ​​​ไม่​​​รู้ว่าบาทมัน​​​จะ​​​แข็งไปที่​​​เท่า​​​ไร​​ ​​ผมแค่ขอ​​​ความ​​​กรุณาคน​​​ใน​​​รัฐบาลลงมาดูข้อเท็จจริงบ้าง​​ ​​วันนี้ทุกคนเหน็ด​​ ​​เหนื่อย​​ ​​รากแก้ว​​​หรือ​​​ใครก็ตาม​​​ถ้า​​​ปล่อย​​​ไว้​​​เปื่อยแน่​​ ​​วันนี้ภาคการผลิตจริงๆ​​ ​​กำ​​​ลัง​​​จะ​​​อยู่​​​ไม่​​​ได้​​" ​​นายนิพนธ์กล่าว​​

ห้องเย็นจวกรัฐชี้ลดการผลิต​​/​​ปลดคน

นายพจน์​​ ​​อร่ามวัฒนานนท์​​ ​​นายกสมาคมอาหารแช่​​​เยือกแข็ง​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​ใน​​​ส่วน​​​ของกุ้งปัญหาขณะนี้​​​ได้​​​ขยายผลกระทบลงไป​​​ถึง​​​ภาคการผลิต​​​แล้ว​​ ​​มีการลดกำ​​​ลังการผลิต​​ ​​บางรายล้มหายไป​​ ​​การส่งออกสินค้ากลุ่มกุ้งมีสัด​​​ส่วน​​​สูง​​ 80% ​​เมื่อเปรียบการส่งออกอาหารรวม​​ ​​มีคนเกี่ยวข้อง​​​ถึง​​ 20 ​​ล้านคน​​ ​​ดัง​​​นั้น​​ ​​ทางออกแรกคือแบงก์ชาติ​​ ​​และ​​​หน่วยงานที่​​​เกี่ยวข้องควรยอมรับปัญหาก่อน​​ ​​ไม่​​​ใช่​​​เอา​​​เรา​​​ไปเปรียบเทียบ​​​กับ​​​ประ​​​เทศ​​​อื่น​​​ซึ่ง​​​ไม่​​​ได้​​​มีลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจเดียว​​​กับ​​​เรา​​ ​​เช่น​​ ​​ไต้หวัน​​

แนวทางที่รัฐบาล​​​ได้​​​เสนอ​​ ​​อาทิ​​ ​​การลดต้นทุนการผลิต​​ ​​เพิ่มประสิทธิภาพ​​ ​​การประ​​​กัน​​​อัตรา​​​แลกเปลี่ยนทางภาคเอกชนดำ​​​เนินการ​​​อยู่​​​แล้ว​​ ​​แต่ปัญหาอัตรา​​​แลกเปลี่ยน​​​ซึ่ง​​​เป็น​​​ปัญหาหลัก​​ ​​ไม่​​​สามารถ​​​คาด​​​ได้​​​ว่าจน​​​ถึง​​​สิ้นปี​​ 2550 ​​จะ​​​อยู่​​​ที่​​​เท่า​​​ไร​​ ​​ผู้​​​ส่งออก​​​จึง​​​ลดกำ​​​ลังการผลิตรักษาฐานตลาด​​ ​​ปรับลดกำ​​​ลังคนบ้าง​​ ​​บริษัทขนาด​​​ใหญ่​​​ยัง​​​สามารถ​​​แบกรับภาระ​​​ได้​​ ​​แต่ราย​​​เล็ก​​​จะ​​​ได้​​​รับผลกระทบที่รุนแรงกว่า​​

นายชนินทร์​​ ​​ชลิศราพงศ์​​ ​​กรรมการกลุ่มปลาทูน่า​​ ​​สมาคม​​​ผู้​​​ผลิตอาหารสำ​​​เร็จรูป​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​หากรัฐบาล​​​ยัง​​​ไม่​​​สามารถ​​​แก้​​​ไขปัญหาบาทแข็งรวด​​​เร็ว​​​ได้​​ ​​คาดว่า​​​จะ​​​สูญเสียราย​​​ได้​​​จาก​​​การส่งออก​​ ​​ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนี้​​​ได้​​​รับผลกระทบ​​​จาก​​​วัตถุดิบขาดแคลน​​ ​​ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น​​​เป็น​​ 1,400 ​​เหรียญสหรัฐต่อตัน​​ ​​จาก​​ 900 ​​เหรียญสหรัฐต่อตัน​​ ​​ผู้​​​ส่งออกเฉลี่ย​​ 40-50% ​​ลดการผลิต​​ ​​บางโรงงานก็ลดการจ้างงาน​​ ​​หรือ​​​เลิกจ้าง​​ ​​กระทบ​​​กับ​​​แรงงานที่​​​เกี่ยวข้อง​​​กับ​​​อุตสาหกรรมนี้มีประมาณ​​ 1 ​​ล้านคน​​ ​​หากรอจน​​​ถึง​​​เดือนตุลาคม​​​ซึ่ง​​​เป็น​​​ฤดูหนาว​​ ​​ปลาขึ้นมา​​​ให้​​​จับ​​​ได้​​​มากขึ้นคง​​​จะ​​​มีปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น​​​แล้ว​​​ปัญหาวัตถุดิบก็คง​​​จะ​​​ดีขึ้น​​ ​​แต่หากรัฐบาล​​​ยัง​​​ไม่​​​สามารถ​​​แก้​​​ไขปัญหาค่า​​​เงินบาท​​​ได้​​ ​​ราย​​​ได้​​​จาก​​​การส่งออกก็คงหายไปไตรมาสละ​​ 30% ​​เหลือเพียง​​ 8,000 ​​ล้านบาท​​ ​​คง​​​ไม่​​​ถึง​​​เป้าหมายที่วาง​​​ไว้

นายยุทธศักดิ์​​ ​​สุภสร​​ ​​ผู้​​​อำ​​​นวยการสถาบันอาหาร​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​บาทแข็ง​​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารรวม​​​แล้ว​​ 4-5 ​​พันล้านเหรียญ​​ ​​หรือ​​​เท่า​​​กับ​​​ว่าการแข็งค่า​​​เงินบาทขึ้นทุก​​ 1 ​​บาท​​ ​​ก็​​​จะ​​​เกิดการสูญเสียราย​​​ได้​​​ประมาณ​​ 1.1 ​​หมื่นล้านเหรียญ​​ ​​หรือ​​ 1.9% ​​ของมูลค่าการส่งออกอาหารรวมประมาณ​​ 5-6 ​​แสนล้านบาท​​ ​​ไม่​​​เช่น​​​นั้น​​​อุตสาหกรรมอาหาร​​​ซึ่ง​​​มีการ​​​ใช้​​​วัตถุดิบภาย​​​ใน​​​ประ​​​เทศสัด​​​ส่วน​​​สูง​​ ​​ก็​​​จะ​​​เป็น​​​กลุ่มที่​​​ไม่​​​สามารถ​​​แข่งขัน​​​ได้​​​อีกต่อไป​​

สิ่งทอหนีตายแห่ย้ายฐานผลิต

นายสมบูรณ์​​ ​​เจือเสถียรรัตน์​​ ​​กรรมการบริหาร​​ ​​บริษัท​​ ​​ไทยการ์​​​เม้นต์​​​เอ็กซ์ปอร์ต​​ ​​จำ​​​กัด​​ ​​ผู้​​​ส่งออกเสื้อผ้าสำ​​​เร็จรูปราย​​​ใหญ่​​​ของไทย​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​ใน​​​ปี​​ 2549 ​​ไทยการ์​​​เม้นต์ฯมีราย​​​ได้​​​จาก​​​การส่งออก​​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนแรก​​ 52 ​​ล้านเหรียญสหรัฐ​​ ​​คิด​​​เป็น​​​เงินบาท​​ 2,600 ​​ล้านบาท​​ ​​แต่​​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนแรกของปี​​ 2550 ​​มีราย​​​ได้​​ 60 ​​ล้านเหรียญสหรัฐ​​ ​​คิด​​​เป็น​​​เงินบาท​​ 2,100 ​​ล้านบาท​​ ​​ทั้ง​​​ที่ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น​​​ถึง​​ 12.5%

ดัง​​​นั้น​​​ใน​​​เบื้องต้น​​​จึง​​​เริ่ม​​​ใช้​​​วิธีย้ายออร์​​​เดอร์บาง​​​ส่วน​​​ไป​​​ให้​​​โรงงาน​​​ใน​​​เครือไทยการ์​​​เม้นต์ฯ​​ ​​เวียดนาม​​ ​​และ​​​จีน​​ ​​ใน​​​สัด​​​ส่วน​​​ที่​​​ไม่​​​มากนัก​​ ​​แต่หากค่า​​​เงินบาท​​​ยัง​​​แข็งค่าต่อ​​​เนื่อง​​ ​​เราอาจ​​​จะ​​​ย้ายออร์​​​เดอร์​​​ไปต่างประ​​​เทศมากขึ้น​​

"​​ไทยการ์​​​เม้นต์ฯ​​​เป็น​​​โรงงานทันสมัยมาก​​ ​​ผลกระทบมา​​​จาก​​​ค่า​​​เงินบาทแข็ง​​​เป็น​​​หลัก​​ ​​โดย​​​มีการนำ​​​เข้า​​​วัตถุดิบ​​​จาก​​​ต่างประ​​​เทศ​​ 30% ​​ส่วน​​​นี้​​​ไม่​​​ได้​​​รับผลกระทบ​​ ​​แต่​​​เรา​​​ใช้​​​เงินบาท​​​ใน​​​การจ่ายค่า​​​แรง​​​และ​​​ค่าบริหารงานต่างๆ​​ ​​หากค่า​​​เงินบาท​​​ยัง​​​ผันผวน​​ ​​ถึง​​​เรา​​​จะ​​​เพิ่มประสิทธิภาพแค่​​​ไหน​​ ​​ลดต้นทุนไป​​​เท่า​​​ไร​​ ​​ก็​​​ไม่​​​สามารถ​​​แก้ปัญหานี้​​​ได้​​" ​​นายสมบูรณ์กล่าว

​​ขณะนี้ปัญหาค่า​​​เงินบาทกำ​​​ลังทำ​​​ให้​​​นักลงทุนขาด​​​ความ​​​เชื่อมั่น​​ ​​เนื่อง​​​จาก​​​รัฐบาล​​​ไม่​​​มีนโยบาย​​​ใน​​​เรื่องนี้ที่ชัดเจน​​ ​​แนวทางแก้ปัญหาคือ​​ ​​รัฐบาลควรกำ​​​หนดมาตรการที่ชัดเจน​​​ใน​​​เรื่องนี้​​ ​​มิ​​​เช่น​​​นั้น​​​นักลงทุน​​​ใน​​​กลุ่มสิ่งทอคง​​​ต้อง​​​ย้ายฐานการผลิตไปประ​​​เทศ​​​อื่น​​

ด้านนายชัยพงศ์​​ ​​เวชมามณเฑียร​​ ​​ประธาน​​ ​​ลิ​​​เบอร์ตี้​​ ​​อินเตอร์​​ ​​กรุ๊ป​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​ขณะนี้กลุ่มลิ​​​เบอร์ตี้​​​และ​​​พันธมิตร​​ ​​ซึ่ง​​​ประกอบ​​​ด้วย​​​บริษัททองเสียง​​ ​​และ​​​อี​​​เกิลสปีด​​ ​​ได้​​​รวมตัว​​​กัน​​​ขยายฐานการผลิตไป​​​ยัง​​​ประ​​​เทศเวียดนาม​​ ​​จ​​.​​เบ๋นแตร​​ (Ben Tre) ​​และ​​​จะ​​​เปิดดำ​​​เนินการ​​​ใน​​​ปีนี้​​ ​​โดย​​​มีกำ​​​ลังการผลิต​​ 3-4 ​​แสนตัวต่อเดือน​​ ​​เพื่อผลิตเสื้อผ้า​​​ให้​​​กับ​​​ลูกค้ากลุ่มสินค้าผลิตกีฬา​​​แบรนด์ต่างๆ​​ ​​อาทิ​​ ​​อาดิดาส​​ ​​ไนกี้​​ ​​พูม่า​​ ​​เป็น​​​ต้น​​ ​​นอก​​​จาก​​​นี้​​​ผู้​​​ส่งออกสิ่งทอหลายรายเริ่ม​​​เข้า​​​ไปลงทุน​​​ใน​​​ลาว​​ ​​โดย​​​ได้​​​รับสิทธิพิ​​​เศษทางภาษีศุลกากร​​ (จี​​​เอสพี) ​​ใน​​​การส่งออกไป​​​ยัง​​​สหรัฐ​​

นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นหดหาย

นายประกิจ​​ ​​ชินอมรพงษ์​​ ​​อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย​​ ​​และ​​ 1 ​​ใน​​​คณะกรรมการสหพันธ์ท่องเที่ยวแห่งประ​​​เทศไทย​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​ทันทีที่​​​เงินบาทแข็งค่าขึ้นกลุ่มเจ้าของกิจการบริษัทนำ​​​เข้า​​​นักท่องเที่ยวต่างประ​​​เทศ​​ (outbound) ​​ผู้​​​บริหารสมาคมโรงแรมไทย​​ ​​และ​​​กลุ่มสมาคมนำ​​​คนไทยไปเที่ยวต่างประ​​​เทศ​​ (outbound) ​​ประ​​​เมินสถานการณ์​​​และ​​​มี​​​ความ​​​เห็นตรง​​​กัน​​​ว่า​​ ​​นักท่องเที่ยวญี่ปุ่น​​​จะ​​​เป็น​​​ตลาดกลุ่มแรกที่มีจำ​​​นวนลดลงทันที​​ ​​เนื่อง​​​จาก​​​ค่า​​​เงินเยนก็อ่อนตัวลงอย่างมาก​​​จาก​​​เดิม​​ 100 ​​เยน​​ ​​แลก​​​ได้​​​กว่า​​ 35 ​​บาท​​ ​​ขณะนี้​​​เหลือประมาณ​​ 27 ​​บาท​​​เท่า​​​นั้น

ขณะนี้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวกำ​​​ลัง​​​เป็น​​​ห่วงสถานการณ์อินบาวนด์ญี่ปุ่นมากกว่าตลาด​​​อื่นๆ​​ ​​เนื่อง​​​จาก​​​เป็น​​​ลูกค้าคุณภาพ​​​ใช้​​​จ่ายเงินต่อคนต่อวันสูง​​ ​​แต่ช่วงครึ่งปี​​ 2550 ​​จาก​​​เหตุการณ์รุนแรง​​ 3 ​​จังหวัดชายแดนภาค​​​ใต้​​​ต่อ​​​เนื่อง​​​ถึง​​​เหตุระ​​​เบิด​​​ใน​​​กรุงเทพฯ​​ ​​ทำ​​​ให้​​​นักท่องเที่ยวหวั่นเกรง​​​ความ​​​ไม่​​​ปลอดภัย​​​จึง​​​ชะลอ​​​เข้า​​​มาท่องเที่ยวเมืองไทย​​ ​​สถิติ​​ 5 ​​เดือนแรกลดลงกว่า​​ 10% ​​ยิ่งมา​​​เจอค่า​​​เงินเยนอ่อนก็​​​จะ​​​ยิ่งทับถม​​​ให้​​​ตลาดหดตัวมากกว่าปกติอาจ​​​จะ​​​เกิน​​ 15% ​​ก็​​​เป็น​​​ได้​​ ​​จาก​​​ปกติจำ​​​นวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น​​​เข้า​​​เมืองไทยปีละ​​​เกือบ​​ 1 ​​ล้านคน

นายอนุพงษ์​​ ​​กิตติลักษนนท์​​ ​​กรรมการ​​​ผู้​​​จัดการ​​ ​​บริษัท​​ ​​ที​​.​​วี​​.​​แอร์บุ๊คกิ้ง​​ ​​จำ​​​กัด​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​สถานการณ์ตลาดคนไทยไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นกลับเพิ่มขึ้น​​ ​​เป็น​​​ผลมา​​​จาก​​​สายการบินนานาชาติพร้อมใจ​​​กัน​​​ทำ​​​โปรโมชั่นช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว​​ 5 ​​วัน​​ 4 ​​คืน​​ ​​ราคาตั๋ว​​ ​​ไป​​-​​กลับ​​ ​​กรุงเทพฯ​​-​​ญี่ปุ่น​​ (โตเกียว​​, ​​โอซากา) ​​ลดราคา​​​เหลือเพียง​​ 16,900 ​​บาท​​ ​​และ​​​แพ็กเกจท่องเที่ยวมีราคาช็อกตลาด​​ 5-6 ​​วัน​​ ​​เคยขายเกิน​​ 45,000 ​​บาท​​/​​คน​​ ​​ก็​​​เหลือเพียง​​ 39,000 ​​บาท​​/​​คน​​ ​​รวมทุกอย่าง

โดย​​​ภาพรวม​​​ผู้​​​ประกอบการเอาต์บาวนด์กล่าวเหมือน​​​กัน​​​ว่า​​ ​​ตั้งแต่กรกฎาคมนี้​​ ​​หลังค่า​​​เงินบาทแข็งเงินสกุลเยนอ่อนตัว​​ ​​จะ​​​เป็น​​​แรงกระตุ้น​​​ให้​​​คนไทยหันไปซื้อทัวร์ญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น​​ ​​แต่ละ​​​เดือน​​​จะ​​​มีคนไทยเดินทางไปญี่ปุ่นเฉลี่ย​​ 800-1,000 ​​คน

เอสเอ็มอี​​​เชียง​​​ใหม่​​​เจ๊งระนาว

นายยุทธพงศ์​​ ​​จิระประภาพงศ์​​ ​​กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประ​​​เทศไทย​​ ​​รองประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ​​ ​​กล่าวว่า​​ ​"​​ผู้​​​ส่งออกชะลอการนำ​​​เข้า​​​วัตถุดิบต่อ​​​เนื่อง​​​มาหลายเดือน​​ ​​เพราะ​​​เมื่อผลิตส่งออกไปก็ขาดทุน​​ ​​ทุกวันนี้ทำ​​​ธุรกิจกำ​​​ไรเกิน​​ 10% ​​ก็ถือว่า​​​เยี่ยม​​​แล้ว​​ ​​มา​​​เจอค่า​​​เงินบาทแข็งตัวต่อ​​​เนื่อง​​​เกิน​​ 15% ​​อย่างนี้ก็ยาก​​​จะ​​​อยู่​​​ได้​​"

ผู้​​​สื่อข่าวรายงานว่า​​ ​​ค่า​​​เงินบาทแข็งต่อ​​​เนื่อง​​​ทำ​​​ให้​​​โรงงานเซรามิก​​​ใน​​ ​​จ​​.​​ลำ​​​ปางปิดตัวไป​​​แล้ว​​​กว่าสิบราย​​ ​​เพราะ​​​ที่ผ่านมา​​​เผชิญปัญหาการแข่งขันอย่างหนัก​​​กับ​​​จีน​​ ​​เมื่อหันมา​​​ใช้​​​กลยุทธ์ราคาสู้​​ ​​ก็พบ​​​กับ​​​ปัญหาค่า​​​เงินบาท​​​ซ้ำ​​​เติมจนขาดสภาพคล่อง​​ ​​แม้​​​แต่รายที่พยายามปรับตัวหาตลาดระดับบน​​ ​​และ​​​เน้นการออกแบบจนมีตลาดของตัวเองอย่างเชลียงเซรามิค​​ ​​จ​​.​​เชียง​​​ใหม่​​ ​​ที่​​​เคย​​​ได้​​​รับรางวัลระดับชาติหลายครั้ง​​ ​​ก็ประสบปัญหา​​​ต้อง​​​ลดคนงานจำ​​​นวนมาก

นายมาลีราช​​ ​​ปา​​​เต็ล​​ ​​ประธานสภาอุตสาห​​ ​​กรรม​​ ​​แห่งประ​​​เทศไทย​​ ​​จังหวัดลำ​​​ปาง​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​มี​​​โรงงานเซรามิกหลายรายปิดตัว​​​เพราะ​​​ไม่​​​สามารถ​​​แข่งขัน​​​ได้​​ ​​โดย​​​ส่วน​​​หนึ่งมา​​​จาก​​​ค่า​​​เงินบาท​​ ​​รัฐบาลควร​​​เข้า​​​มา​​​ช่วย​​​เหลือ​​​โดย​​​ออกมาตรการเร่งด่วน​​

ส่วน​​​นายทวีศักดิ์​​ ​​ฟุ้งเกียรติ​​​เจริญ​​ ​​กรรมการ​​​ผู้​​​จัดการ​​ ​​บรรษัทประ​​​กัน​​​สินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม​​ (บสย​​.) ​​กล่าวว่า​​ ​​ลูกค้า​​​ผู้​​​ส่งออกหลายรายชำ​​​ระหนี้​​​ไม่​​​ตรงกำ​​​หนด​​ ​​ได้​​​ตรวจสอบ​​​และ​​​หาทาง​​​ช่วย​​​เหลือ​​ ​​เพื่อ​​​ไม่​​​ให้​​​กลาย​​​เป็น​​​หนี้​​​เสีย​​

"​​เริ่มเจออาการ​​​ไม่​​​ดีค่อนข้างมาก​​ ​​บางราย​​​ใช้​​​สินเชื่อ​​​ไม่​​​ถึง​​​ปี​​​เริ่มมีปัญหา​​ ​​เรา​​​ช่วย​​​เหลือเต็มที่​​​เพราะ​​​เป็น​​​สถาบันการเงินของรัฐ​​ ​​รัฐบาลคงมีมาตรการออกมา​​​ช่วย​​​อีก​​ ​​เพราะ​​​ลำ​​​พังเรา​​​เอง​​​ช่วย​​​อะ​​​ไร​​​ไม่​​​ได้​​​มาก​​ ​​และ​​​ภาย​​​ใต้​​​สถานการณ์​​​เช่นนี้​​​เชื่อว่าสัด​​​ส่วน​​​หนี้​​​ไม่​​​ก่อ​​​ให้​​​เกิดราย​​​ได้​​​ของ​​ ​​บสย​​.​​ใน​​​ปีนี้​​​จะ​​​ขยับตัวขึ้น​​​จาก​​​ปัจจุบัน​​​อยู่​​​ที่​​ 14%"

ดัชนีชี้ขีด​​​ความ​​​สามารถ

ผู้​​​สื่อข่าวรายงานว่า​​ ​​นับแต่ปี​​ 2549 ​​เป็น​​​ต้นมา​​ ​​ดัชนีค่า​​​เงินบาท​​ ​​หรือ​​ Nominal Effective Exchange Rate : NEER ​​และ​​​ดัชนีค่า​​​เงินที่​​​แท้จริง​​ (ดัชนีค่า​​​เงินที่มีการปรับเปลี่ยน​​ (Revise) ​​ข้อมูลอัตรา​​​เงินเฟ้อของแต่ละประ​​​เทศที่​​ ​​ธปท​​.​​นำ​​​อัตรา​​​แลกเปลี่ยนมาคำ​​​นวณดัชนีค่า​​​เงิน) ​​หรือ​​ Real Effective Exchange Rate : REER ​​ได้​​​ปรับตัว​​ ​​ขึ้นอย่างต่อ​​​เนื่อง​​ ​​ซึ่ง​​​การปรับตัวขึ้นดังกล่าว​​​เป็น​​ ​​ตัวชี้​​​ถึง​​​ความ​​​สามารถ​​​ใน​​​การแข่งขันด้านราคาของ​​​ผู้​​​ส่งออกไทยที่ลดลงเมื่อเทียบ​​​กับ​​​ประ​​​เทศคู่​​​แข่ง​​

โดย​​ NEER ​​และ​​ REER ​​ได้​​​ปรับตัวขึ้น​​​จาก​​​ต้นปี​​ 2549 ​​ที่ระดับ​​ 71.28 ​​และ​​ 81.40 ​​เป็น​​ 76.98 ​​และ​​ 88.97 ​​ใน​​​ต้นปี​​ 2550 ​​ตามลำ​​​ดับ​​ ​​กระทั่งสิ้นเดือน​​ ​​มิ​​.​​ย​​. ​​ค่า​​ NEER ​​ขยับขึ้น​​​เป็น​​ 79.11 ​​และ​​​ค่า​​ REER ​​อยู่​​​ที่​​ 92 ​​ณ​​ ​​สิ้นเดือน​​ ​​พ​​.​​ค​​. (ล่าช้ากว่า​​ NEER ​​ประมาณ​​ 1 ​​เดือน​​ ​​เนื่อง​​​จาก​​​ต้อง​​​คำ​​​นวณเงินเฟ้อของประ​​​เทศที่​​ ​​ธปท​​.​​นำ​​​เงินมาคำ​​​นวณดัชนีค่า​​​เงิน) ​​ทั้ง​​​นี้การคำ​​​นวณค่า​​ NEER ​​และ​​ REER ​​จะ​​​คำ​​​นวณ​​​จาก​​​สกุลเงินของประ​​​เทศคู่ค้า​​​และ​​​คู่​​​แข่ง​​​ทั้ง​​​หมด​​ 21 ​​สกุล​​ ​​โดย​​​ให้​​​น้ำ​​​หนักตาม​​​ความ​​​สำ​​​คัญ​​​ใน​​​ฐานะคู่ค้า​​​และ​​​คู่​​​แข่ง​​​ใน​​​ตลาดโลก​​

อย่างไรก็ตามแม้ดัชนีชี้วัด​​​ความ​​​สามารถ​​​การแข่งขันด้านราคา​​​จะ​​​ลดลง​​ ​​แต่ราย​​​ได้​​​เกษตรกร​​​ยัง​​​คงขยายตัวอย่างต่อ​​​เนื่อง​​ ​​โดย​​​ใน​​​เดือน​​ ​​พ​​.​​ค​​. 2550 ​​ขยายตัว​​ 31.1% ​​เทียบ​​​กับ​​​ช่วงเดียว​​​กัน​​​ของปีที่ผ่านมา​​ ​​จาก​​ 27.7% 28.4% ​​ใน​​​เดือน​​ ​​เม​​.​​ย​​. ​​และ​​ ​​ไตรมาสแรกตามลำ​​​ดับ​​ ​​โดย​​​เป็น​​​การขยายตัวด้านปริมาณ​​​เป็น​​​สำ​​​คัญที่​​ 15.2% ​​จาก​​ 9.8% ​​ใน​​​เดือน​​ ​​เม​​.​​ย​​. ​​แต่ก็น่าสังเกตว่ามีการขยายตัวด้านราคา​​ 13.8% ​​ชะลอ​​​จาก​​ 16.3% ​​ใน​​​เดือน​​ ​​เม​​.​​ย​​. ​​และ​​ 21.3% ​​ใน​​​ไตรมาสแรก​​

ทั้ง​​​นี้​​ ​​ธปท​​.​​ได้​​​ระบุ​​​ถึง​​​แนวโน้มราคาสินค้า​​​เกษตร​​​โดย​​​รวมของไทย​​​ใน​​​รายงานเศรษฐกิจประจำ​​​เดือน​​ ​​พ​​.​​ค​​. ​​โดย​​​คาดว่าราคาสินค้า​​​เกษตรไทย​​​จะ​​​ชะลอตัว​​​จาก​​​ราคาพืชผลสำ​​​คัญที่มี​​​แนวโน้มชะลอตัวตามราคา​​​ใน​​​ตลาดโลก​​​และ​​​อุปทานพืชผล​​​ใน​​​ประ​​​เทศที่​​​เพิ่มขึ้น​​ ​​ราคาปศุสัตว์​​​ยัง​​​คงหดตัว​​​จาก​​​อุปทาน​​​ส่วน​​​เกิน​​ ​​และ​​​ราคาประมงชะลอตัว​​​จาก​​​อุปทานกุ้งที่​​​เพิ่มขึ้น​​ ​​และ​​​อีกผลกระทบหนึ่งต่อราย​​​ได้​​​เกษตรกรคือค่า​​​เงินบาทที่​​​แข็งค่าขึ้น

ข้าวไทยอ่วมแพงกว่าญวน​​ 40 ​​เหรียญ

นายชู​​​เกียรติ​​ ​​โอภาสวงศ์​​ ​​นายกสมาคม​​​ผู้​​​ส่งข้าวออกต่างประ​​​เทศ​​ ​​เปิดเผยว่า​​ ​​หากอัตรา​​​แลกเปลี่ยน​​​ยัง​​​ปรับแข็งค่าขึ้นจน​​​ถึง​​​สิ้นปี​​ ​​คาดว่า​​​จะ​​​ส่งผลกระทบต่อราย​​​ได้​​​จาก​​​การส่งออกราว​​ 2 ​​หมื่นล้านบาท​​ ​​เพราะ​​​อัตรา​​​แลกเปลี่ยน​​​เป็น​​​ปัจจัยสำ​​​คัญที่ทำ​​​ให้​​​ผู้​​​ส่งออกเสียเปรียบคู่​​​แข่งอย่างเวียดนาม​​ ​​ซึ่ง​​​มีอัตรา​​​แลกเปลี่ยนคงที่​​ ​​ระดับ​​ 16,000 ​​ดอง​​/ ​​เหรียญสหรัฐ​​ ​​ซึ่ง​​​ทำ​​​ให้​​​ราคาข้าวไทยสูงกว่า​​​เวียดนาม​​ ​​เพิ่มขึ้น​​​เป็น​​ 40 ​​เหรียญสหรัฐ​​ ​​จาก​​​เดิม​​ 10 ​​เหรียญสหรัฐต่อตัน​​

"สินค้าข้าว​​​ไม่​​​สามารถ​​​เพิ่มมูลค่า​​​หรือ​​​การย้ายฐานการลงทุนเหมือนสินค้า​​​อื่น​​​ได้​​ ​​เพราะ​​​เป็น​​​สินค้าวัตถุดิบ​​ ​​ทำ​​​ได้​​​เพียงประ​​​กัน​​​อัตรา​​​แลกเปลี่ยน​​ ​​บางรายเปลี่ยนสกุลเงิน​​​เป็น​​​ยู​​​โร​​ ​​แต่​​​ผู้​​​ซื้อก็​​​ยัง​​​ต้อง​​​การซื้อดอลลาร์​​​เพราะ​​​จ่ายน้อยกว่า​​ ​​ซึ่ง​​​ใน​​​ที่สุด​​​แล้ว​​​ต้อง​​​ลดราคาวัตถุดิบภาย​​​ใน​​​ประ​​​เทศ​​​จาก​​​เกษตรกร​​ ​​ทั้ง​​​ที่ปีนี้​​​เกษตรกรควร​​​จะ​​​ได้​​​ราคาที่สูงกว่านี้​​ ​​หรือ​​​หาก​​​จะ​​​เปิดตลาด​​​ใหม่​​​ก็ทำ​​​ได้​​​ยาก​​ ​​เพราะ​​​ข้าวไทยกระจายไป​​​ทั่ว​​​โลกเกือบ​​ 120 ​​ประ​​​เทศ​​​แล้ว​​ ​​ส่วน​​​การอาศัยจังหวะส่งออกที่ดี​​​ใน​​​ตลาด​​​ใหม่ๆ​​ ​​อย่าง​​ ​​รัสเซีย​​​หรือ​​​ญี่ปุ่น​​ ​​ซึ่ง​​​ประกาศต้านการนำ​​​เข้า​​​ข้าวสหรัฐ​​ ​​เพราะ​​​เกรงปัญหาจี​​​เอ็มโอ​​ ​​แต่​​​ผู้​​​ส่งออกก็​​​ต้อง​​​เสียภาษีนำ​​​เข้า​​​สูง​​ ​​เพราะ​​​สินค้ากลุ่มนี้มี​​​โควตา​​ ​​และ​​​ไม่​​​ได้​​​อยู่​​​ใน​​​การลดภาษีภาย​​​ใต้​​​เอฟที​​​เอ"


Powered by ScribeFire.

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Value Way : ​ต้อนรับกระทิง นั่งสบายๆ​ ​รอขบวนที่นั่ง​อยู่แล้ว​วิ่งออก

SET Index ​สร้างจุดสูงสุด​ใหม่​ใน​รอบสามสี่ปีที่ผ่านมา​

**สังเกตการณ์ขึ้นรอบนี้​ ​เกิด​จาก​การ​เข้า​ซื้อหุ้นขนาด​ใหญ่​ใน​กลุ่มพลังงาน​ ​ปิ​โตรเคมี​ ​และ​ธนาคาร​ ​ประมาณ​ 10-20 ​บริษัท​ ​ของนักลงทุนต่างชาติ​ ​ไม่​ได้​ซื้อหุ้น​ทั้ง​หมด​ใน​ตลาด​ ​หรือ​ SET50

*บางท่านบอกว่า​เกิด​จาก​การเคลื่อนย้ายเงินทุน​ ​บางท่านว่าหุ้นบ้านเราราคาถูกเมื่อเทียบ​กับ​เพื่อนบ้าน​ ​สองปัจจัยนี้รวม​กัน​ก็น่า​จะ​เป็น​เหตุผลหลัก​ใน​การที่ทำ​ให้​ตลาดหุ้นบ้านเราขึ้น​ได้​อย่างรุนแรง

*อย่างไรก็ตาม​ ​ราคาหุ้น​ต้อง​สะท้อนมูลค่า​ ​แต่อาจ​จะ​เกินมูลค่า​ได้​จาก​จิตวิทยามวลชน​ ​การประ​เมินทางนี้เป็นเรื่องคาดเดายาก ็คิดเพียงว่าตลาดหุ้น​นั้น​ ​จะ​เป็น​ตัวส่งสัญญาณล่วงหน้า​เสมอ​ ​หากตลาดหุ้นขึ้น​ใน​ระยะยาว​ ​นั่นก็หมาย​ความ​ว่านักลงทุนมั่นใจ​ใน​อนาคต​ ​และ​เมื่ออนาคตสดใส​ ​หุ้นมูลค่าที่ถือ​อยู่​ก็น่า​จะ​ได้​รับผลดีผ่านผลประกอบการที่ดี​ไป​ด้วย​ ​สุดท้ายก็​จะ​ส่งผลออกมาทางราคาหุ้นที่​เพิ่มขึ้น​ ​ฉะ​นั้น​จึง​ไม่​มี​ความ​จำ​เป็น​ที่​จะ​ต้อง​ไปปรับตัวรับตลาดหุ้นขาขึ้นแต่อย่าง​ใด

*รถไปขบวนนี้คนเริ่มแน่น​แล้ว​ ​และ​ถ้า​แน่นมากๆ​ ​รถอาจตกราง​ได้​ดังรูป ขอนั่งสบายๆ​ ​รอขบวนที่นั่ง​อยู่แล้ว​วิ่งออกก็​แล้ว​กัน

PE asia=18, Set=12.3, SEA=16

*เมื่อพิจารณาย้อนหลังไป​ 30 ​เดือน​ ​ด้วย​วิธีการหา​ความ​สัมพันธ์​เชิงเปรียบเทียบ​ ​ก็​จะ​พบว่าตลาดไทย​ยัง​คงมี​ Upside ​อีก​ 45% ​หรือ​ระดับดัชนี​ 1230 ​จุด​ ​จะ​กลาย​เป็น​เป้าหมายหลัก​ ​ซึ่ง​ก็มี​ความ​เป็น​ไป​ได้​สูง​ ​เนื่อง​จาก​ SET ​ยัง​มี​ PE ​ต่ำ​เพียง​ 12.3 ​เท่า​ ​เทียบ​กับ​ทวีปเอเชียที่​ 18 ​เท่า​ ​และ​ SEA ​ที่​ 16 ​เท่า​ ​เรา​จึง​เรียก​ได้​ว่ามีการ​ Discount ​อยู่​ 23-32%

*ประ​เด็นที่น่าติดตามว่า​เป้าหมายดังกล่าว​จะ​ถึง​หรือ​ไม่​ ​อยู่​ที่​ 1) ​อัตราดอกเบี้ยสหรัฐ​ ​หากมีการปรับขึ้น​ ​จะ​ส่งผล​ให้​เม็ดเงินชะลอลง​แล้ว​นั่น​จะ​ทำ​ให้​เกิดการปรับพอร์ตรอบ​ใหญ่​ 2) ​การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยปรับตัวขึ้นมาสูงมาก​จะ​ก่อ​ให้​เกิด​ Earnings Gap ​ที่​แคบลง​ ​กระตุ้นการขายทำ​กำ​ไร​ 3) ​ค่า​เงินบาทแข็งค่า​เร็ว​และ​แรงเกินไป​ ​ซึ่ง​เราคาดว่าบริ​เวณ​ 33 ​บาท​ ​แรงซื้อน่า​จะ​ชะลอลง​ ​เนื่อง​จาก​กำ​ไร​จาก​ค่า​เงิน​จะ​เพิ่มขึ้น​ ​ขณะที่ราคาหุ้นไทยก็​จะ​แพงขึ้นตาม​


*​ตลาดหุ้นไทย​ใน​ช่วง​ 6 ​เดือนที่ผ่านมา​ ​มีการปรับตัวขึ้นมา​ 38.7% ​แรงกว่า​ MSCI-Asia Ex Japan ​ที่ปรับขึ้นมา​ 23.4% ​และ​เมื่อเทียบ​กับ​ใน​กลุ่ม​ SEA 5 ​ประ​เทศ​ ​แล้ว​จะ​พบว่า​ไทย​ยัง​มี​ Performance ​ที่​แย่กว่า​เล็ก​น้อยประมาณ​ 2% ​เพราะ​ฉะ​นั้น​หากดัชนี​จะ​ปรับตัวลงก็​จะ​เกิดขึ้น​จาก​ปัจจัยต่างประ​เทศ​เป็น​สำ​คัญ​ ​กล่าวคือ​ ​ดอกเบี้ยขึ้น​ ​หรือ​มีการขายทำ​กำ​ไร​ทั้ง​ภูมิภาค

*คำ​แนะนำ​เราคือ​ ​หากดัชนี​ไม่​ต่ำ​กว่า​ 841 ​จุด​ ​แนะนำ​ซื้อ​หรือ​ถือต่อไป