เอกชนจวกยับรัฐบาลไม่ยอมรับปัญหา "ค่าบาทแข็ง" แก้ไม่ถูกจุด หวั่นพิษบาทแข็งลามหนักมีสิทธิ์กระทบถึงรากหญ้า-เกษตรกร จี้แก้ชักช้ารากหญ้ากลายเป็น "รากเน่า" แน่ ด้านอุตสาหกรรมสะเทือนหนักนักธุรกิจโวย "ทูน่า-สิ่งทอ-อาหาร" อ่วม เริ่มออกอาการลดกำลังการผลิต ปลดคนงานระนาว หวั่นแรงงานกลุ่มนี้อีกกว่า 1 ล้านคนโดนลอยแพเพิ่ม รวมทั้งย้ายฐานการผลิตและนำเข้าวัตถุดิบทดแทนมากขึ้น ระวังอนาคตธุรกิจที่เชื่อมโยงต้นน้ำ-ปลายน้ำตายทั้งยวง ส่วนท่องเที่ยววูบ ญี่ปุ่นหนีแต่คนไทยไปญี่ปุ่นมากขึ้น
จากบทวิเคราะห์ฝ่ายวิชาการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ให้ข้อมูลว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในช่วง 5 เดือนของปีนี้เพิ่มขึ้นจาก "ปริมาณ" มากกว่า "ราคา" โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 12% ขณะที่ราคาเพิ่มขึ้น 5% และเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นราว 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงราคาในรูปเงินบาทที่ลดลง แต่ผู้ส่งออกจำเป็นต้องส่งออกในภาวะที่ตลาดในประเทศหดตัวลงเพื่อรักษาระดับการผลิตและกิจการและลูกค้าไว้
รายงานระบุว่า การส่งออกสูงแต่ผู้ส่งออกกลับมีกำไรน้อยลง สังเกตได้จากแม้มูลค่าส่งออกในเทอมดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 18.4% ในช่วง 5 เดือนแรก แต่มูลค่าส่งออกในรูปเงินบาทในช่วงเดียวกันเพิ่มขึ้นเพียง 7% และหากพิจารณาการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกตั้งแต่ต้นปี 2550 พบว่ามูลค่าส่งออกเป็นดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงกว่ามูลค่าส่งออกเป็นบาทกว่า 10% ทุกเดือน สะท้อนว่าผู้ส่งออกมีกำไรบางลงมากจากเงินบาทที่แข็งค่า
ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ เมื่อแบ่งกลุ่มผู้ส่งออกตามขนาดมูลค่าส่งออกและแยกเป็นผู้ส่งออกคนไทย 45% และต่างชาติ 55% ของมูลค่าส่งออกทั้งประเทศ ในช่วง 5 เดือนแรกสินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และเป็นของต่างชาติยังไปได้ดีเนื่องจากมี import content สูง และมีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนค่าเงินเป็นอย่างดี ได้แก่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (มีสัดส่วน import content 83.2%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (82%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (66%) จึงได้รับผลกระทบไม่รุนแรงจากค่าเงินบาทแข็ง ขณะที่สินค้าส่วนใหญ่ที่เป็นของคนไทยขนาดกลางลงไปมีอำนาจต่อรองต่ำในการกำหนดราคาส่งออก แบกรับภาระกำไรต่ำเพราะเน้นปริมาณส่งออก ซึ่งอาจอยู่ได้ไม่นาน (ดูกราฟ) และส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร ได้แก่สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (มี import content น้อยกว่า 20%) ผลิตภัณฑ์ยาง (21.6%) เคมีภัณฑ์ (29%) ไม้และเฟอร์นิเจอร์ (30.5%) อัญมณีและเครื่องประดับ (46.8%)
หากเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อไป และแข็งค่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่ถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำและเกษตรกร เนื่องจากผู้ส่งออกต้องผลักภาระไปให้ ด้วยการต่อรองราคาวัตถุดิบเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ผลกระทบในเชิงมหภาคก็จะเกิดขึ้นและซ้ำเติมเศรษฐกิจโดยรวม หากอุตสาหกรรมต้นน้ำและเกษตรกรถูกกดราคามาก อาจจะกระทบต่ออุปทานวัตถุดิบและส่งต่อเนื่องกับการผลิตและการส่งออก เงื่อนไขการส่งออกโดยเน้นปริมาณเพื่อรักษากำไรไว้ ขณะที่ราคาขยับขึ้นไม่ได้ก็จะถูกกระทบ เมื่อถึงเวลานั้นมูลค่าส่งออกอาจจะกระทบจากทั้งปัจจัยด้านปริมาณและราคาควบคู่กันไป
ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากประเด็นการต่อรองราคาวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมต้นน้ำและเกษตรกรแล้ว ผู้ส่งออกบางส่วนอาจแก้ปัญหาด้วยการนำเข้าวัตถุดิบแทนการใช้วัตถุดิบในประเทศ ภาวะดังกล่าวจะกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื่อมโยงในประเทศ และผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต้นน้ำจะยิ่งได้รับผลกระทบเพราะส่งออกไม่ได้ขณะที่ไม่มีตลาดในประเทศรองรับ
ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วคืออุตสาหกรรมรองเท้า ในปี 2550 มีการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น หนัง สิ่งทอ เคมีภัณฑ์มากขึ้น จนปัจจุบันสัดส่วนการนำเข้าต่อวัตถุดิบในประเทศสูงถึง 70:30 เทียบกับปี 2549 ที่สัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 50:50 อุตสาหกรรมสิ่งทอ สินค้าปลายน้ำ เช่นหันไปนำเข้าผ้าผืนแทน สินค้ากลางน้ำ เช่นผ้าผืนหันไปนำเข้าเส้นใยแทนวัตถุดิบในประเทศ
บาทแข็งลงลึกหวั่นรากหญ้าเปื่อย
นายนิพนธ์ บุญญามณี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟู๊ด จำกัด กล่าวว่า ในแง่ของเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้ง ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ล้วนแต่เป็นผู้อ่อนแอ ไม่สามารถที่จะปกป้องตนเองได้ ไม่สามารถที่จะไปซื้อประกันความเสี่ยงค่าเงินบาทได้ สิ่งเหล่านี้ทางการจะปล่อยไปตามยถากรรมไม่ได้ ต้องลง มาดูแล แม้จะบอกว่าผู้ส่งออกดูแลตนเองได้ แต่อย่าลืมว่าเกษตรกรเขาป้องกันตัวเองไม่ได้ แม้วันนี้รัฐต้องใช้เงินมหาศาลในการแทรกแซงค่าเงินบาท แต่อย่างน้อยที่สุดต้องให้ความมั่นใจกับเกษตรกร/ กลุ่มผู้ส่งออกได้ว่า ค่าที่แท้จริงของเงินบาทจะอยู่ระดับใด รัฐจะต้องส่งสัญญาณให้เขามีความมั่นใจ
"พอเงินบาทแข็ง มันไปกระทบกับรายได้ ตอนนี้ก็เริ่มลดกำลังการผลิต แต่ที่กำลังกังวลใจมากตอนนี้คือการตกลงซื้อขายมันยากขึ้นทุกวัน เราก็ไม่กล้าที่จะรับออร์เดอร์ลูกค้า เพราะไม่รู้ว่าบาทมันจะแข็งไปที่เท่าไร ผมแค่ขอความกรุณาคนในรัฐบาลลงมาดูข้อเท็จจริงบ้าง วันนี้ทุกคนเหน็ด เหนื่อย รากแก้วหรือใครก็ตามถ้าปล่อยไว้เปื่อยแน่ วันนี้ภาคการผลิตจริงๆ กำลังจะอยู่ไม่ได้" นายนิพนธ์กล่าว
ห้องเย็นจวกรัฐชี้ลดการผลิต/ปลดคน
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง กล่าวว่า ในส่วนของกุ้งปัญหาขณะนี้ได้ขยายผลกระทบลงไปถึงภาคการผลิตแล้ว มีการลดกำลังการผลิต บางรายล้มหายไป การส่งออกสินค้ากลุ่มกุ้งมีสัดส่วนสูง 80% เมื่อเปรียบการส่งออกอาหารรวม มีคนเกี่ยวข้องถึง 20 ล้านคน ดังนั้น ทางออกแรกคือแบงก์ชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรยอมรับปัญหาก่อน ไม่ใช่เอาเราไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นซึ่งไม่ได้มีลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจเดียวกับเรา เช่น ไต้หวัน
แนวทางที่รัฐบาลได้เสนอ อาทิ การลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ การประกันอัตราแลกเปลี่ยนทางภาคเอกชนดำเนินการอยู่แล้ว แต่ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นปัญหาหลัก ไม่สามารถคาดได้ว่าจนถึงสิ้นปี 2550 จะอยู่ที่เท่าไร ผู้ส่งออกจึงลดกำลังการผลิตรักษาฐานตลาด ปรับลดกำลังคนบ้าง บริษัทขนาดใหญ่ยังสามารถแบกรับภาระได้ แต่รายเล็กจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่า
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ กรรมการกลุ่มปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า หากรัฐบาลยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาบาทแข็งรวดเร็วได้ คาดว่าจะสูญเสียรายได้จากการส่งออก ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนี้ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบขาดแคลน ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 1,400 เหรียญสหรัฐต่อตัน จาก 900 เหรียญสหรัฐต่อตัน ผู้ส่งออกเฉลี่ย 40-50% ลดการผลิต บางโรงงานก็ลดการจ้างงาน หรือเลิกจ้าง กระทบกับแรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้มีประมาณ 1 ล้านคน หากรอจนถึงเดือนตุลาคมซึ่งเป็นฤดูหนาว ปลาขึ้นมาให้จับได้มากขึ้นคงจะมีปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้นแล้วปัญหาวัตถุดิบก็คงจะดีขึ้น แต่หากรัฐบาลยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทได้ รายได้จากการส่งออกก็คงหายไปไตรมาสละ 30% เหลือเพียง 8,000 ล้านบาท คงไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า บาทแข็งในช่วง 5 เดือนกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารรวมแล้ว 4-5 พันล้านเหรียญ หรือเท่ากับว่าการแข็งค่าเงินบาทขึ้นทุก 1 บาท ก็จะเกิดการสูญเสียรายได้ประมาณ 1.1 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 1.9% ของมูลค่าการส่งออกอาหารรวมประมาณ 5-6 แสนล้านบาท ไม่เช่นนั้นอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศสัดส่วนสูง ก็จะเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไป
สิ่งทอหนีตายแห่ย้ายฐานผลิต
นายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท ไทยการ์เม้นต์เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่ของไทย กล่าวว่า ในปี 2549 ไทยการ์เม้นต์ฯมีรายได้จากการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก 52 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 2,600 ล้านบาท แต่ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 มีรายได้ 60 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 2,100 ล้านบาท ทั้งที่ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 12.5%
ดังนั้นในเบื้องต้นจึงเริ่มใช้วิธีย้ายออร์เดอร์บางส่วนไปให้โรงงานในเครือไทยการ์เม้นต์ฯ เวียดนาม และจีน ในสัดส่วนที่ไม่มากนัก แต่หากค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง เราอาจจะย้ายออร์เดอร์ไปต่างประเทศมากขึ้น
"ไทยการ์เม้นต์ฯเป็นโรงงานทันสมัยมาก ผลกระทบมาจากค่าเงินบาทแข็งเป็นหลัก โดยมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ 30% ส่วนนี้ไม่ได้รับผลกระทบ แต่เราใช้เงินบาทในการจ่ายค่าแรงและค่าบริหารงานต่างๆ หากค่าเงินบาทยังผันผวน ถึงเราจะเพิ่มประสิทธิภาพแค่ไหน ลดต้นทุนไปเท่าไร ก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้" นายสมบูรณ์กล่าว
ขณะนี้ปัญหาค่าเงินบาทกำลังทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายในเรื่องนี้ที่ชัดเจน แนวทางแก้ปัญหาคือ รัฐบาลควรกำหนดมาตรการที่ชัดเจนในเรื่องนี้ มิเช่นนั้นนักลงทุนในกลุ่มสิ่งทอคงต้องย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น
ด้านนายชัยพงศ์ เวชมามณเฑียร ประธาน ลิเบอร์ตี้ อินเตอร์ กรุ๊ป กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มลิเบอร์ตี้และพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยบริษัททองเสียง และอีเกิลสปีด ได้รวมตัวกันขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเวียดนาม จ.เบ๋นแตร (Ben Tre) และจะเปิดดำเนินการในปีนี้ โดยมีกำลังการผลิต 3-4 แสนตัวต่อเดือน เพื่อผลิตเสื้อผ้าให้กับลูกค้ากลุ่มสินค้าผลิตกีฬาแบรนด์ต่างๆ อาทิ อาดิดาส ไนกี้ พูม่า เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ส่งออกสิ่งทอหลายรายเริ่มเข้าไปลงทุนในลาว โดยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ในการส่งออกไปยังสหรัฐ
นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นหดหาย
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย และ 1 ในคณะกรรมการสหพันธ์ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทันทีที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นกลุ่มเจ้าของกิจการบริษัทนำเข้านักท่องเที่ยวต่างประเทศ (outbound) ผู้บริหารสมาคมโรงแรมไทย และกลุ่มสมาคมนำคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ (outbound) ประเมินสถานการณ์และมีความเห็นตรงกันว่า นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นจะเป็นตลาดกลุ่มแรกที่มีจำนวนลดลงทันที เนื่องจากค่าเงินเยนก็อ่อนตัวลงอย่างมากจากเดิม 100 เยน แลกได้กว่า 35 บาท ขณะนี้เหลือประมาณ 27 บาทเท่านั้น
ขณะนี้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวกำลังเป็นห่วงสถานการณ์อินบาวนด์ญี่ปุ่นมากกว่าตลาดอื่นๆ เนื่องจากเป็นลูกค้าคุณภาพใช้จ่ายเงินต่อคนต่อวันสูง แต่ช่วงครึ่งปี 2550 จากเหตุการณ์รุนแรง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อเนื่องถึงเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ ทำให้นักท่องเที่ยวหวั่นเกรงความไม่ปลอดภัยจึงชะลอเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทย สถิติ 5 เดือนแรกลดลงกว่า 10% ยิ่งมาเจอค่าเงินเยนอ่อนก็จะยิ่งทับถมให้ตลาดหดตัวมากกว่าปกติอาจจะเกิน 15% ก็เป็นได้ จากปกติจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเข้าเมืองไทยปีละเกือบ 1 ล้านคน
นายอนุพงษ์ กิตติลักษนนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.วี.แอร์บุ๊คกิ้ง จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์ตลาดคนไทยไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นกลับเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากสายการบินนานาชาติพร้อมใจกันทำโปรโมชั่นช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว 5 วัน 4 คืน ราคาตั๋ว ไป-กลับ กรุงเทพฯ-ญี่ปุ่น (โตเกียว, โอซากา) ลดราคาเหลือเพียง 16,900 บาท และแพ็กเกจท่องเที่ยวมีราคาช็อกตลาด 5-6 วัน เคยขายเกิน 45,000 บาท/คน ก็เหลือเพียง 39,000 บาท/คน รวมทุกอย่าง
โดยภาพรวมผู้ประกอบการเอาต์บาวนด์กล่าวเหมือนกันว่า ตั้งแต่กรกฎาคมนี้ หลังค่าเงินบาทแข็งเงินสกุลเยนอ่อนตัว จะเป็นแรงกระตุ้นให้คนไทยหันไปซื้อทัวร์ญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น แต่ละเดือนจะมีคนไทยเดินทางไปญี่ปุ่นเฉลี่ย 800-1,000 คน
เอสเอ็มอีเชียงใหม่เจ๊งระนาว
นายยุทธพงศ์ จิระประภาพงศ์ กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รองประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ กล่าวว่า "ผู้ส่งออกชะลอการนำเข้าวัตถุดิบต่อเนื่องมาหลายเดือน เพราะเมื่อผลิตส่งออกไปก็ขาดทุน ทุกวันนี้ทำธุรกิจกำไรเกิน 10% ก็ถือว่าเยี่ยมแล้ว มาเจอค่าเงินบาทแข็งตัวต่อเนื่องเกิน 15% อย่างนี้ก็ยากจะอยู่ได้"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ค่าเงินบาทแข็งต่อเนื่องทำให้โรงงานเซรามิกใน จ.ลำปางปิดตัวไปแล้วกว่าสิบราย เพราะที่ผ่านมาเผชิญปัญหาการแข่งขันอย่างหนักกับจีน เมื่อหันมาใช้กลยุทธ์ราคาสู้ ก็พบกับปัญหาค่าเงินบาทซ้ำเติมจนขาดสภาพคล่อง แม้แต่รายที่พยายามปรับตัวหาตลาดระดับบน และเน้นการออกแบบจนมีตลาดของตัวเองอย่างเชลียงเซรามิค จ.เชียงใหม่ ที่เคยได้รับรางวัลระดับชาติหลายครั้ง ก็ประสบปัญหาต้องลดคนงานจำนวนมาก
นายมาลีราช ปาเต็ล ประธานสภาอุตสาห กรรม แห่งประเทศไทย จังหวัดลำปาง กล่าวว่า มีโรงงานเซรามิกหลายรายปิดตัวเพราะไม่สามารถแข่งขันได้ โดยส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินบาท รัฐบาลควรเข้ามาช่วยเหลือโดยออกมาตรการเร่งด่วน
ส่วนนายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการผู้จัดการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า ลูกค้าผู้ส่งออกหลายรายชำระหนี้ไม่ตรงกำหนด ได้ตรวจสอบและหาทางช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้กลายเป็นหนี้เสีย
"เริ่มเจออาการไม่ดีค่อนข้างมาก บางรายใช้สินเชื่อไม่ถึงปีเริ่มมีปัญหา เราช่วยเหลือเต็มที่เพราะเป็นสถาบันการเงินของรัฐ รัฐบาลคงมีมาตรการออกมาช่วยอีก เพราะลำพังเราเองช่วยอะไรไม่ได้มาก และภายใต้สถานการณ์เช่นนี้เชื่อว่าสัดส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ บสย.ในปีนี้จะขยับตัวขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ 14%"
ดัชนีชี้ขีดความสามารถ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ดัชนีค่าเงินบาท หรือ Nominal Effective Exchange Rate : NEER และดัชนีค่าเงินที่แท้จริง (ดัชนีค่าเงินที่มีการปรับเปลี่ยน (Revise) ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศที่ ธปท.นำอัตราแลกเปลี่ยนมาคำนวณดัชนีค่าเงิน) หรือ Real Effective Exchange Rate : REER ได้ปรับตัว ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการปรับตัวขึ้นดังกล่าวเป็น ตัวชี้ถึงความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออกไทยที่ลดลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง
โดย NEER และ REER ได้ปรับตัวขึ้นจากต้นปี 2549 ที่ระดับ 71.28 และ 81.40 เป็น 76.98 และ 88.97 ในต้นปี 2550 ตามลำดับ กระทั่งสิ้นเดือน มิ.ย. ค่า NEER ขยับขึ้นเป็น 79.11 และค่า REER อยู่ที่ 92 ณ สิ้นเดือน พ.ค. (ล่าช้ากว่า NEER ประมาณ 1 เดือน เนื่องจากต้องคำนวณเงินเฟ้อของประเทศที่ ธปท.นำเงินมาคำนวณดัชนีค่าเงิน) ทั้งนี้การคำนวณค่า NEER และ REER จะคำนวณจากสกุลเงินของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งทั้งหมด 21 สกุล โดยให้น้ำหนักตามความสำคัญในฐานะคู่ค้าและคู่แข่งในตลาดโลก
อย่างไรก็ตามแม้ดัชนีชี้วัดความสามารถการแข่งขันด้านราคาจะลดลง แต่รายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน พ.ค. 2550 ขยายตัว 31.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จาก 27.7% 28.4% ในเดือน เม.ย. และ ไตรมาสแรกตามลำดับ โดยเป็นการขยายตัวด้านปริมาณเป็นสำคัญที่ 15.2% จาก 9.8% ในเดือน เม.ย. แต่ก็น่าสังเกตว่ามีการขยายตัวด้านราคา 13.8% ชะลอจาก 16.3% ในเดือน เม.ย. และ 21.3% ในไตรมาสแรก
ทั้งนี้ ธปท.ได้ระบุถึงแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทยในรายงานเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค. โดยคาดว่าราคาสินค้าเกษตรไทยจะชะลอตัวจากราคาพืชผลสำคัญที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามราคาในตลาดโลกและอุปทานพืชผลในประเทศที่เพิ่มขึ้น ราคาปศุสัตว์ยังคงหดตัวจากอุปทานส่วนเกิน และราคาประมงชะลอตัวจากอุปทานกุ้งที่เพิ่มขึ้น และอีกผลกระทบหนึ่งต่อรายได้เกษตรกรคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ข้าวไทยอ่วมแพงกว่าญวน 40 เหรียญ
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เปิดเผยว่า หากอัตราแลกเปลี่ยนยังปรับแข็งค่าขึ้นจนถึงสิ้นปี คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออกราว 2 หมื่นล้านบาท เพราะอัตราแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ส่งออกเสียเปรียบคู่แข่งอย่างเวียดนาม ซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ระดับ 16,000 ดอง/ เหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าเวียดนาม เพิ่มขึ้นเป็น 40 เหรียญสหรัฐ จากเดิม 10 เหรียญสหรัฐต่อตัน
"สินค้าข้าวไม่สามารถเพิ่มมูลค่าหรือการย้ายฐานการลงทุนเหมือนสินค้าอื่นได้ เพราะเป็นสินค้าวัตถุดิบ ทำได้เพียงประกันอัตราแลกเปลี่ยน บางรายเปลี่ยนสกุลเงินเป็นยูโร แต่ผู้ซื้อก็ยังต้องการซื้อดอลลาร์เพราะจ่ายน้อยกว่า ซึ่งในที่สุดแล้วต้องลดราคาวัตถุดิบภายในประเทศจากเกษตรกร ทั้งที่ปีนี้เกษตรกรควรจะได้ราคาที่สูงกว่านี้ หรือหากจะเปิดตลาดใหม่ก็ทำได้ยาก เพราะข้าวไทยกระจายไปทั่วโลกเกือบ 120 ประเทศแล้ว ส่วนการอาศัยจังหวะส่งออกที่ดีในตลาดใหม่ๆ อย่าง รัสเซียหรือญี่ปุ่น ซึ่งประกาศต้านการนำเข้าข้าวสหรัฐ เพราะเกรงปัญหาจีเอ็มโอ แต่ผู้ส่งออกก็ต้องเสียภาษีนำเข้าสูง เพราะสินค้ากลุ่มนี้มีโควตา และไม่ได้อยู่ในการลดภาษีภายใต้เอฟทีเอ"
จากบทวิเคราะห์ฝ่ายวิชาการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ให้ข้อมูลว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในช่วง 5 เดือนของปีนี้เพิ่มขึ้นจาก "ปริมาณ" มากกว่า "ราคา" โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 12% ขณะที่ราคาเพิ่มขึ้น 5% และเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นราว 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงราคาในรูปเงินบาทที่ลดลง แต่ผู้ส่งออกจำเป็นต้องส่งออกในภาวะที่ตลาดในประเทศหดตัวลงเพื่อรักษาระดับการผลิตและกิจการและลูกค้าไว้
รายงานระบุว่า การส่งออกสูงแต่ผู้ส่งออกกลับมีกำไรน้อยลง สังเกตได้จากแม้มูลค่าส่งออกในเทอมดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 18.4% ในช่วง 5 เดือนแรก แต่มูลค่าส่งออกในรูปเงินบาทในช่วงเดียวกันเพิ่มขึ้นเพียง 7% และหากพิจารณาการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกตั้งแต่ต้นปี 2550 พบว่ามูลค่าส่งออกเป็นดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงกว่ามูลค่าส่งออกเป็นบาทกว่า 10% ทุกเดือน สะท้อนว่าผู้ส่งออกมีกำไรบางลงมากจากเงินบาทที่แข็งค่า
ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ เมื่อแบ่งกลุ่มผู้ส่งออกตามขนาดมูลค่าส่งออกและแยกเป็นผู้ส่งออกคนไทย 45% และต่างชาติ 55% ของมูลค่าส่งออกทั้งประเทศ ในช่วง 5 เดือนแรกสินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และเป็นของต่างชาติยังไปได้ดีเนื่องจากมี import content สูง และมีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนค่าเงินเป็นอย่างดี ได้แก่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (มีสัดส่วน import content 83.2%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (82%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (66%) จึงได้รับผลกระทบไม่รุนแรงจากค่าเงินบาทแข็ง ขณะที่สินค้าส่วนใหญ่ที่เป็นของคนไทยขนาดกลางลงไปมีอำนาจต่อรองต่ำในการกำหนดราคาส่งออก แบกรับภาระกำไรต่ำเพราะเน้นปริมาณส่งออก ซึ่งอาจอยู่ได้ไม่นาน (ดูกราฟ) และส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร ได้แก่สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (มี import content น้อยกว่า 20%) ผลิตภัณฑ์ยาง (21.6%) เคมีภัณฑ์ (29%) ไม้และเฟอร์นิเจอร์ (30.5%) อัญมณีและเครื่องประดับ (46.8%)
หากเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อไป และแข็งค่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่ถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำและเกษตรกร เนื่องจากผู้ส่งออกต้องผลักภาระไปให้ ด้วยการต่อรองราคาวัตถุดิบเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ผลกระทบในเชิงมหภาคก็จะเกิดขึ้นและซ้ำเติมเศรษฐกิจโดยรวม หากอุตสาหกรรมต้นน้ำและเกษตรกรถูกกดราคามาก อาจจะกระทบต่ออุปทานวัตถุดิบและส่งต่อเนื่องกับการผลิตและการส่งออก เงื่อนไขการส่งออกโดยเน้นปริมาณเพื่อรักษากำไรไว้ ขณะที่ราคาขยับขึ้นไม่ได้ก็จะถูกกระทบ เมื่อถึงเวลานั้นมูลค่าส่งออกอาจจะกระทบจากทั้งปัจจัยด้านปริมาณและราคาควบคู่กันไป
ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากประเด็นการต่อรองราคาวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมต้นน้ำและเกษตรกรแล้ว ผู้ส่งออกบางส่วนอาจแก้ปัญหาด้วยการนำเข้าวัตถุดิบแทนการใช้วัตถุดิบในประเทศ ภาวะดังกล่าวจะกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื่อมโยงในประเทศ และผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต้นน้ำจะยิ่งได้รับผลกระทบเพราะส่งออกไม่ได้ขณะที่ไม่มีตลาดในประเทศรองรับ
ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วคืออุตสาหกรรมรองเท้า ในปี 2550 มีการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น หนัง สิ่งทอ เคมีภัณฑ์มากขึ้น จนปัจจุบันสัดส่วนการนำเข้าต่อวัตถุดิบในประเทศสูงถึง 70:30 เทียบกับปี 2549 ที่สัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 50:50 อุตสาหกรรมสิ่งทอ สินค้าปลายน้ำ เช่นหันไปนำเข้าผ้าผืนแทน สินค้ากลางน้ำ เช่นผ้าผืนหันไปนำเข้าเส้นใยแทนวัตถุดิบในประเทศ
บาทแข็งลงลึกหวั่นรากหญ้าเปื่อย
นายนิพนธ์ บุญญามณี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟู๊ด จำกัด กล่าวว่า ในแง่ของเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้ง ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ล้วนแต่เป็นผู้อ่อนแอ ไม่สามารถที่จะปกป้องตนเองได้ ไม่สามารถที่จะไปซื้อประกันความเสี่ยงค่าเงินบาทได้ สิ่งเหล่านี้ทางการจะปล่อยไปตามยถากรรมไม่ได้ ต้องลง มาดูแล แม้จะบอกว่าผู้ส่งออกดูแลตนเองได้ แต่อย่าลืมว่าเกษตรกรเขาป้องกันตัวเองไม่ได้ แม้วันนี้รัฐต้องใช้เงินมหาศาลในการแทรกแซงค่าเงินบาท แต่อย่างน้อยที่สุดต้องให้ความมั่นใจกับเกษตรกร/ กลุ่มผู้ส่งออกได้ว่า ค่าที่แท้จริงของเงินบาทจะอยู่ระดับใด รัฐจะต้องส่งสัญญาณให้เขามีความมั่นใจ
"พอเงินบาทแข็ง มันไปกระทบกับรายได้ ตอนนี้ก็เริ่มลดกำลังการผลิต แต่ที่กำลังกังวลใจมากตอนนี้คือการตกลงซื้อขายมันยากขึ้นทุกวัน เราก็ไม่กล้าที่จะรับออร์เดอร์ลูกค้า เพราะไม่รู้ว่าบาทมันจะแข็งไปที่เท่าไร ผมแค่ขอความกรุณาคนในรัฐบาลลงมาดูข้อเท็จจริงบ้าง วันนี้ทุกคนเหน็ด เหนื่อย รากแก้วหรือใครก็ตามถ้าปล่อยไว้เปื่อยแน่ วันนี้ภาคการผลิตจริงๆ กำลังจะอยู่ไม่ได้" นายนิพนธ์กล่าว
ห้องเย็นจวกรัฐชี้ลดการผลิต/ปลดคน
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง กล่าวว่า ในส่วนของกุ้งปัญหาขณะนี้ได้ขยายผลกระทบลงไปถึงภาคการผลิตแล้ว มีการลดกำลังการผลิต บางรายล้มหายไป การส่งออกสินค้ากลุ่มกุ้งมีสัดส่วนสูง 80% เมื่อเปรียบการส่งออกอาหารรวม มีคนเกี่ยวข้องถึง 20 ล้านคน ดังนั้น ทางออกแรกคือแบงก์ชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรยอมรับปัญหาก่อน ไม่ใช่เอาเราไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นซึ่งไม่ได้มีลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจเดียวกับเรา เช่น ไต้หวัน
แนวทางที่รัฐบาลได้เสนอ อาทิ การลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ การประกันอัตราแลกเปลี่ยนทางภาคเอกชนดำเนินการอยู่แล้ว แต่ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นปัญหาหลัก ไม่สามารถคาดได้ว่าจนถึงสิ้นปี 2550 จะอยู่ที่เท่าไร ผู้ส่งออกจึงลดกำลังการผลิตรักษาฐานตลาด ปรับลดกำลังคนบ้าง บริษัทขนาดใหญ่ยังสามารถแบกรับภาระได้ แต่รายเล็กจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่า
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ กรรมการกลุ่มปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า หากรัฐบาลยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาบาทแข็งรวดเร็วได้ คาดว่าจะสูญเสียรายได้จากการส่งออก ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนี้ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบขาดแคลน ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 1,400 เหรียญสหรัฐต่อตัน จาก 900 เหรียญสหรัฐต่อตัน ผู้ส่งออกเฉลี่ย 40-50% ลดการผลิต บางโรงงานก็ลดการจ้างงาน หรือเลิกจ้าง กระทบกับแรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้มีประมาณ 1 ล้านคน หากรอจนถึงเดือนตุลาคมซึ่งเป็นฤดูหนาว ปลาขึ้นมาให้จับได้มากขึ้นคงจะมีปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้นแล้วปัญหาวัตถุดิบก็คงจะดีขึ้น แต่หากรัฐบาลยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทได้ รายได้จากการส่งออกก็คงหายไปไตรมาสละ 30% เหลือเพียง 8,000 ล้านบาท คงไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า บาทแข็งในช่วง 5 เดือนกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารรวมแล้ว 4-5 พันล้านเหรียญ หรือเท่ากับว่าการแข็งค่าเงินบาทขึ้นทุก 1 บาท ก็จะเกิดการสูญเสียรายได้ประมาณ 1.1 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 1.9% ของมูลค่าการส่งออกอาหารรวมประมาณ 5-6 แสนล้านบาท ไม่เช่นนั้นอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศสัดส่วนสูง ก็จะเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไป
สิ่งทอหนีตายแห่ย้ายฐานผลิต
นายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท ไทยการ์เม้นต์เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่ของไทย กล่าวว่า ในปี 2549 ไทยการ์เม้นต์ฯมีรายได้จากการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก 52 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 2,600 ล้านบาท แต่ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 มีรายได้ 60 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 2,100 ล้านบาท ทั้งที่ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 12.5%
ดังนั้นในเบื้องต้นจึงเริ่มใช้วิธีย้ายออร์เดอร์บางส่วนไปให้โรงงานในเครือไทยการ์เม้นต์ฯ เวียดนาม และจีน ในสัดส่วนที่ไม่มากนัก แต่หากค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง เราอาจจะย้ายออร์เดอร์ไปต่างประเทศมากขึ้น
"ไทยการ์เม้นต์ฯเป็นโรงงานทันสมัยมาก ผลกระทบมาจากค่าเงินบาทแข็งเป็นหลัก โดยมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ 30% ส่วนนี้ไม่ได้รับผลกระทบ แต่เราใช้เงินบาทในการจ่ายค่าแรงและค่าบริหารงานต่างๆ หากค่าเงินบาทยังผันผวน ถึงเราจะเพิ่มประสิทธิภาพแค่ไหน ลดต้นทุนไปเท่าไร ก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้" นายสมบูรณ์กล่าว
ขณะนี้ปัญหาค่าเงินบาทกำลังทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายในเรื่องนี้ที่ชัดเจน แนวทางแก้ปัญหาคือ รัฐบาลควรกำหนดมาตรการที่ชัดเจนในเรื่องนี้ มิเช่นนั้นนักลงทุนในกลุ่มสิ่งทอคงต้องย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น
ด้านนายชัยพงศ์ เวชมามณเฑียร ประธาน ลิเบอร์ตี้ อินเตอร์ กรุ๊ป กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มลิเบอร์ตี้และพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยบริษัททองเสียง และอีเกิลสปีด ได้รวมตัวกันขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเวียดนาม จ.เบ๋นแตร (Ben Tre) และจะเปิดดำเนินการในปีนี้ โดยมีกำลังการผลิต 3-4 แสนตัวต่อเดือน เพื่อผลิตเสื้อผ้าให้กับลูกค้ากลุ่มสินค้าผลิตกีฬาแบรนด์ต่างๆ อาทิ อาดิดาส ไนกี้ พูม่า เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ส่งออกสิ่งทอหลายรายเริ่มเข้าไปลงทุนในลาว โดยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ในการส่งออกไปยังสหรัฐ
นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นหดหาย
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย และ 1 ในคณะกรรมการสหพันธ์ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทันทีที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นกลุ่มเจ้าของกิจการบริษัทนำเข้านักท่องเที่ยวต่างประเทศ (outbound) ผู้บริหารสมาคมโรงแรมไทย และกลุ่มสมาคมนำคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ (outbound) ประเมินสถานการณ์และมีความเห็นตรงกันว่า นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นจะเป็นตลาดกลุ่มแรกที่มีจำนวนลดลงทันที เนื่องจากค่าเงินเยนก็อ่อนตัวลงอย่างมากจากเดิม 100 เยน แลกได้กว่า 35 บาท ขณะนี้เหลือประมาณ 27 บาทเท่านั้น
ขณะนี้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวกำลังเป็นห่วงสถานการณ์อินบาวนด์ญี่ปุ่นมากกว่าตลาดอื่นๆ เนื่องจากเป็นลูกค้าคุณภาพใช้จ่ายเงินต่อคนต่อวันสูง แต่ช่วงครึ่งปี 2550 จากเหตุการณ์รุนแรง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อเนื่องถึงเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ ทำให้นักท่องเที่ยวหวั่นเกรงความไม่ปลอดภัยจึงชะลอเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทย สถิติ 5 เดือนแรกลดลงกว่า 10% ยิ่งมาเจอค่าเงินเยนอ่อนก็จะยิ่งทับถมให้ตลาดหดตัวมากกว่าปกติอาจจะเกิน 15% ก็เป็นได้ จากปกติจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเข้าเมืองไทยปีละเกือบ 1 ล้านคน
นายอนุพงษ์ กิตติลักษนนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.วี.แอร์บุ๊คกิ้ง จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์ตลาดคนไทยไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นกลับเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากสายการบินนานาชาติพร้อมใจกันทำโปรโมชั่นช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว 5 วัน 4 คืน ราคาตั๋ว ไป-กลับ กรุงเทพฯ-ญี่ปุ่น (โตเกียว, โอซากา) ลดราคาเหลือเพียง 16,900 บาท และแพ็กเกจท่องเที่ยวมีราคาช็อกตลาด 5-6 วัน เคยขายเกิน 45,000 บาท/คน ก็เหลือเพียง 39,000 บาท/คน รวมทุกอย่าง
โดยภาพรวมผู้ประกอบการเอาต์บาวนด์กล่าวเหมือนกันว่า ตั้งแต่กรกฎาคมนี้ หลังค่าเงินบาทแข็งเงินสกุลเยนอ่อนตัว จะเป็นแรงกระตุ้นให้คนไทยหันไปซื้อทัวร์ญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น แต่ละเดือนจะมีคนไทยเดินทางไปญี่ปุ่นเฉลี่ย 800-1,000 คน
เอสเอ็มอีเชียงใหม่เจ๊งระนาว
นายยุทธพงศ์ จิระประภาพงศ์ กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รองประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ กล่าวว่า "ผู้ส่งออกชะลอการนำเข้าวัตถุดิบต่อเนื่องมาหลายเดือน เพราะเมื่อผลิตส่งออกไปก็ขาดทุน ทุกวันนี้ทำธุรกิจกำไรเกิน 10% ก็ถือว่าเยี่ยมแล้ว มาเจอค่าเงินบาทแข็งตัวต่อเนื่องเกิน 15% อย่างนี้ก็ยากจะอยู่ได้"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ค่าเงินบาทแข็งต่อเนื่องทำให้โรงงานเซรามิกใน จ.ลำปางปิดตัวไปแล้วกว่าสิบราย เพราะที่ผ่านมาเผชิญปัญหาการแข่งขันอย่างหนักกับจีน เมื่อหันมาใช้กลยุทธ์ราคาสู้ ก็พบกับปัญหาค่าเงินบาทซ้ำเติมจนขาดสภาพคล่อง แม้แต่รายที่พยายามปรับตัวหาตลาดระดับบน และเน้นการออกแบบจนมีตลาดของตัวเองอย่างเชลียงเซรามิค จ.เชียงใหม่ ที่เคยได้รับรางวัลระดับชาติหลายครั้ง ก็ประสบปัญหาต้องลดคนงานจำนวนมาก
นายมาลีราช ปาเต็ล ประธานสภาอุตสาห กรรม แห่งประเทศไทย จังหวัดลำปาง กล่าวว่า มีโรงงานเซรามิกหลายรายปิดตัวเพราะไม่สามารถแข่งขันได้ โดยส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินบาท รัฐบาลควรเข้ามาช่วยเหลือโดยออกมาตรการเร่งด่วน
ส่วนนายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการผู้จัดการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า ลูกค้าผู้ส่งออกหลายรายชำระหนี้ไม่ตรงกำหนด ได้ตรวจสอบและหาทางช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้กลายเป็นหนี้เสีย
"เริ่มเจออาการไม่ดีค่อนข้างมาก บางรายใช้สินเชื่อไม่ถึงปีเริ่มมีปัญหา เราช่วยเหลือเต็มที่เพราะเป็นสถาบันการเงินของรัฐ รัฐบาลคงมีมาตรการออกมาช่วยอีก เพราะลำพังเราเองช่วยอะไรไม่ได้มาก และภายใต้สถานการณ์เช่นนี้เชื่อว่าสัดส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ บสย.ในปีนี้จะขยับตัวขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ 14%"
ดัชนีชี้ขีดความสามารถ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ดัชนีค่าเงินบาท หรือ Nominal Effective Exchange Rate : NEER และดัชนีค่าเงินที่แท้จริง (ดัชนีค่าเงินที่มีการปรับเปลี่ยน (Revise) ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศที่ ธปท.นำอัตราแลกเปลี่ยนมาคำนวณดัชนีค่าเงิน) หรือ Real Effective Exchange Rate : REER ได้ปรับตัว ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการปรับตัวขึ้นดังกล่าวเป็น ตัวชี้ถึงความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออกไทยที่ลดลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง
โดย NEER และ REER ได้ปรับตัวขึ้นจากต้นปี 2549 ที่ระดับ 71.28 และ 81.40 เป็น 76.98 และ 88.97 ในต้นปี 2550 ตามลำดับ กระทั่งสิ้นเดือน มิ.ย. ค่า NEER ขยับขึ้นเป็น 79.11 และค่า REER อยู่ที่ 92 ณ สิ้นเดือน พ.ค. (ล่าช้ากว่า NEER ประมาณ 1 เดือน เนื่องจากต้องคำนวณเงินเฟ้อของประเทศที่ ธปท.นำเงินมาคำนวณดัชนีค่าเงิน) ทั้งนี้การคำนวณค่า NEER และ REER จะคำนวณจากสกุลเงินของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งทั้งหมด 21 สกุล โดยให้น้ำหนักตามความสำคัญในฐานะคู่ค้าและคู่แข่งในตลาดโลก
อย่างไรก็ตามแม้ดัชนีชี้วัดความสามารถการแข่งขันด้านราคาจะลดลง แต่รายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน พ.ค. 2550 ขยายตัว 31.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จาก 27.7% 28.4% ในเดือน เม.ย. และ ไตรมาสแรกตามลำดับ โดยเป็นการขยายตัวด้านปริมาณเป็นสำคัญที่ 15.2% จาก 9.8% ในเดือน เม.ย. แต่ก็น่าสังเกตว่ามีการขยายตัวด้านราคา 13.8% ชะลอจาก 16.3% ในเดือน เม.ย. และ 21.3% ในไตรมาสแรก
ทั้งนี้ ธปท.ได้ระบุถึงแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทยในรายงานเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค. โดยคาดว่าราคาสินค้าเกษตรไทยจะชะลอตัวจากราคาพืชผลสำคัญที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามราคาในตลาดโลกและอุปทานพืชผลในประเทศที่เพิ่มขึ้น ราคาปศุสัตว์ยังคงหดตัวจากอุปทานส่วนเกิน และราคาประมงชะลอตัวจากอุปทานกุ้งที่เพิ่มขึ้น และอีกผลกระทบหนึ่งต่อรายได้เกษตรกรคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ข้าวไทยอ่วมแพงกว่าญวน 40 เหรียญ
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เปิดเผยว่า หากอัตราแลกเปลี่ยนยังปรับแข็งค่าขึ้นจนถึงสิ้นปี คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออกราว 2 หมื่นล้านบาท เพราะอัตราแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ส่งออกเสียเปรียบคู่แข่งอย่างเวียดนาม ซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ระดับ 16,000 ดอง/ เหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าเวียดนาม เพิ่มขึ้นเป็น 40 เหรียญสหรัฐ จากเดิม 10 เหรียญสหรัฐต่อตัน
"สินค้าข้าวไม่สามารถเพิ่มมูลค่าหรือการย้ายฐานการลงทุนเหมือนสินค้าอื่นได้ เพราะเป็นสินค้าวัตถุดิบ ทำได้เพียงประกันอัตราแลกเปลี่ยน บางรายเปลี่ยนสกุลเงินเป็นยูโร แต่ผู้ซื้อก็ยังต้องการซื้อดอลลาร์เพราะจ่ายน้อยกว่า ซึ่งในที่สุดแล้วต้องลดราคาวัตถุดิบภายในประเทศจากเกษตรกร ทั้งที่ปีนี้เกษตรกรควรจะได้ราคาที่สูงกว่านี้ หรือหากจะเปิดตลาดใหม่ก็ทำได้ยาก เพราะข้าวไทยกระจายไปทั่วโลกเกือบ 120 ประเทศแล้ว ส่วนการอาศัยจังหวะส่งออกที่ดีในตลาดใหม่ๆ อย่าง รัสเซียหรือญี่ปุ่น ซึ่งประกาศต้านการนำเข้าข้าวสหรัฐ เพราะเกรงปัญหาจีเอ็มโอ แต่ผู้ส่งออกก็ต้องเสียภาษีนำเข้าสูง เพราะสินค้ากลุ่มนี้มีโควตา และไม่ได้อยู่ในการลดภาษีภายใต้เอฟทีเอ"
Powered by ScribeFire.