วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

เซียนหุ้น​ “​บัฟเฟตต์​” ​ทิ้งหุ้นน้ำ​มันจีน​ 500 ​ล้าน



China - Manager Online
โดย​ ​ผู้​จัดการออนไลน์ 30 ​กัน​ยายน​ 2550 18:59 ​น.
วอเรน​ ​บัฟเฟตต์
ไชน่านิวส์​ - ​เซียนหุ้นวอเรน​ ​บัฟเฟตต์​ ​ตัดสินใจเทขายหุ้นบริษัทน้ำ​มัน​ ​ปิ​โตรไชน่า​ ​ซึ่ง​ทำ​กำ​ไร​ได้​มากที่สุด​ใน​เอเชียของ​เขา​ทิ้งอีกระลอก​ ​โดย​เมื่อวันศุกร์​ (28 ​ก​.​ย​.) ​ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง​ได้​ประกาศว่า​ ​บัฟเฟตต์​ได้​ลดการถือหุ้น​ใน​ปิ​โตรไชน่า​เป็น​ครั้งที่​ 4 ​ด้วย​การเทขายหุ้น​ทั้ง​สิ้น​ 45.138 ​ล้านหุ้น​ ​และ​กวาดเงินไปจำ​นวน​ 508.3 ​ล้านดอลลาร์ฮ่องกง

​โดย​ที่​ใน​ช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา​ ​วอเรน​ ​บัฟเฟตต์​ได้​เทขายหุ้นของปิ​โตรไชน่าแล้ว​ถึง​ 4 ​ครั้ง​ใน​เดือนก​.​ค​. ​เดือนส​.​ค​. ​และ​เมื่อเดือนก​.​ย​. ​เป็น​จำ​นวน​ 16.9 ​ล้านหุ้น​ 95.658 ​ล้านหุ้น​ ​และ​ 28.004 ​ล้านหุ้น​ ​ตามลำ​ดับ

​จาก​ข้อมูลที่​เปิดเผย​ ​การเทหุ้นของบัฟเฟตต์​ใน​ครั้งนี้​ ​ปล่อยออกไป​ใน​มูลค่า​ 11.26 ​ดอลลาร์ฮ่องกงต่อหุ้น​ ​ทำ​ให้​จำ​นวนหุ้นที่​เขา​ถือ​อยู่​ลดลง​จาก​ 1,732 ​ล้านหุ้น​ ​เหลือ​ 1,687 ​ล้านหุ้น​ ​ซึ่ง​หลัง​จาก​ที่บัฟเฟตต์ประกาศเทขายหุ้นครั้งที่​ 3 ​เขา​มีหุ้นเหลือ​อยู่​ 1,884 ​หุ้น​ ​นั่นก็หมาย​ความ​ว่า​ ​ก่อนการประกาศเทหุ้นครั้งที่​ 4 ​นี้​ ​เขา​ได้​ลดการถือหุ้นอย่างเงียบๆ​ไป​ถึง​กว่า​ 100 ​ล้านหุ้น

​อย่างไรก็ตาม​ ​แม้ว่า​ใน​ช่วง​ 3 ​เดือนที่ผ่านมา​ ​บัฟเฟตต์​จะ​เทขายหุ้นของปิ​โตรไชน่า​ไป​แล้ว​กว่า​ 700 ​ล้านหุ้น​ ​กวาดเงินไปราว​ 10,000 ​ล้านดอลลาร์ฮ่องกง​ ​แต่ทว่าราคาหุ้นของปิ​โตรไชน่า​ ​ก็​ยัง​พุ่งสุงขึ้น​อยู่​ตลอด

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

Understanding and applying value investing principles

Assumptions and beliefs

1. Value investing is an extremely productive approach to investing for my circumstance. I have a regular job, a family and can devote only a limited time to investing. So for me value investing and an as an extension, buy and hold makes sense.
2. Trading is time consuming, too stressful and not a game in which I can or want to excel. In addition, I have a mental block against trading (which must quite obvious). I am currently reading a great book on trading – Way of the turtle (on which I will post next) to learn more about it. My initial reaction – Trading is not for the faint hearted, is a tougher (especially emotionally) way to make money and definitely not a part time activity.
3. Investment advice especially from analysts and financial website is baised and not worth following. Blogs are a different matter as the bloggers do not have a hidden agenda.
4. It is impossible to predict the markets in the short run. Don’t waste energy on that. Time is better spent in learning other aspects of investing
5. One can get better at investing if one is ready to put the effort into it.
6. Avoid options, derivatives and other avenues such as gold as there are enough opportunities in equities. No point in spreading my self thin. Knowing a little bit of equity, a little bit of commodities and gold will not get me superior returns. Focus on one area and do well in that.
7. Avoid stocks with high PE unless I am very very certain of the business prospects. Avoid stocks above a PE of 20 in most of the circumstances.
8. Avoid IPOs (see my logic here)
9. Investing in not an intrinsic talent usually. There are a few exceptions to it like warren buffett. I can learn to be a better investor.

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

พิษบาทแข็งลาม​​​ถึง"​​​รากหญ้า​​" ​​ทุบสินค้า​​​เกษตรร่วง​​-​​โละคนงานพุ่ง

​เอกชนจวกยับรัฐบาล​​​ไม่​​​ยอมรับปัญหา​​ "ค่าบาทแข็ง" ​​แก้​​​ไม่​​​ถูกจุด​​ ​​หวั่นพิษบาทแข็งลามหนักมีสิทธิ์กระทบ​​​ถึง​​​รากหญ้า​​-​​เกษตรกร​​ ​​จี้​​​แก้ชักช้ารากหญ้ากลาย​​​เป็น​​ "รากเน่า​​" ​​แน่​​ ​​ด้านอุตสาหกรรมสะ​​​เทือนหนักนักธุรกิจโวย​​ "ทูน่า​​-​​สิ่งทอ​​-​​อาหาร" ​​อ่วม​​ ​​เริ่มออกอาการลดกำ​​​ลังการผลิต​​ ​​ปลดคนงานระนาว​​ ​​หวั่นแรงงานกลุ่มนี้อีกกว่า​​ 1 ​​ล้านคนโดนลอยแพเพิ่ม​​ ​​รวม​​​ทั้ง​​​ย้ายฐานการผลิต​​​และ​​​นำ​​​เข้า​​​วัตถุดิบทดแทนมากขึ้น​​ ​​ระวังอนาคตธุรกิจที่​​​เชื่อมโยงต้นน้ำ​​-​​ปลายน้ำ​​​ตาย​​​ทั้ง​​​ยวง​​ ​​ส่วน​​​ท่องเที่ยววูบ​​ ​​ญี่ปุ่นหนี​​​แต่คนไทยไปญี่ปุ่นมากขึ้น

จาก​​​บทวิ​​​เคราะห์ฝ่ายวิชาการ​​ ​​ธนาคารเพื่อการส่งออก​​​และ​​​นำ​​​เข้า​​​แห่งประ​​​เทศไทย​​ (ธสน​​.) ​​ให้​​​ข้อมูลว่า​​ ​​มูลค่าการส่งออกของไทย​​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนของปีนี้​​​เพิ่มขึ้น​​​จาก​​ "ปริมาณ" ​​มากกว่า​​ "ราคา​​" ​​โดย​​​ปริมาณเพิ่มขึ้น​​ 12% ​​ขณะที่ราคา​​​เพิ่มขึ้น​​ 5% ​​และ​​​เมื่อเทียบ​​​กับ​​​ค่า​​​เงินบาทที่​​​แข็งค่าขึ้นราว​​ 10% ​​จาก​​​ช่วงเดียว​​​กัน​​​ของปีก่อน​​ ​​สะท้อน​​​ถึง​​​ราคา​​​ใน​​​รูปเงินบาทที่ลดลง​​ ​​แต่​​​ผู้​​​ส่งออกจำ​​​เป็น​​​ต้อง​​​ส่งออก​​​ใน​​​ภาวะที่ตลาด​​​ใน​​​ประ​​​เทศหดตัวลงเพื่อรักษาระดับการผลิต​​​และ​​​กิจการ​​​และ​​​ลูกค้า​​​ไว้​​

รายงานระบุว่า​​ ​​การส่งออกสูงแต่​​​ผู้​​​ส่งออกกลับมีกำ​​​ไรน้อยลง​​ ​​สังเกต​​​ได้​​​จาก​​​แม้มูลค่าส่งออก​​​ใน​​​เทอมดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น​​ 18.4% ​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนแรก​​ ​​แต่มูลค่าส่งออก​​​ใน​​​รูปเงินบาท​​​ใน​​​ช่วงเดียว​​​กัน​​​เพิ่มขึ้นเพียง​​ 7% ​​และ​​​หากพิจารณาการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกตั้งแต่ต้นปี​​ 2550 ​​พบว่ามูลค่าส่งออก​​​เป็น​​​ดอลลาร์สหรัฐ​​ ​​ขยายตัวสูงกว่ามูลค่าส่งออก​​​เป็น​​​บาทกว่า​​ 10% ​​ทุกเดือน​​ ​​สะท้อนว่า​​​ผู้​​​ส่งออกมีกำ​​​ไรบางลงมาก​​​จาก​​​เงินบาทที่​​​แข็งค่า

ผู้​​​ประกอบการขนาดกลาง​​​และ​​​ขนาด​​​เล็ก​​​ได้​​​รับผลกระทบมากกว่า​​​ผู้​​​ประกอบการราย​​​ใหญ่​​ ​​เมื่อแบ่งกลุ่ม​​​ผู้​​​ส่งออกตามขนาดมูลค่าส่งออก​​​และ​​​แยก​​​เป็น​​​ผู้​​​ส่งออกคนไทย​​ 45% ​​และ​​​ต่างชาติ​​ 55% ​​ของมูลค่าส่งออก​​​ทั้ง​​​ประ​​​เทศ​​ ​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนแรกสินค้าส่งออก​​​ส่วน​​​ใหญ่​​​เป็น​​​ผู้​​​ประกอบการขนาด​​​ใหญ่​​​และ​​​เป็น​​​ของต่างชาติ​​​ยัง​​​ไป​​​ได้​​​ดี​​​เนื่อง​​​จาก​​​มี​​ import content ​​สูง​​ ​​และ​​​มีการป้อง​​​กัน​​​ความ​​​เสี่ยง​​​จาก​​​ความ​​​ผันผวนค่า​​​เงิน​​​เป็น​​​อย่างดี​​ ​​ได้​​​แก่สินค้าอิ​​​เล็ก​​​ทรอนิกส์​​ (มีสัด​​​ส่วน​​ import content 83.2%) ​​เครื่อง​​​ใช้​​​ไฟฟ้า​​ (82%) ​​รถยนต์​​ ​​อุปกรณ์​​​และ​​​ส่วน​​​ประกอบ​​ (66%) ​​จึง​​​ได้​​​รับผลกระทบ​​​ไม่​​​รุนแรง​​​จาก​​​ค่า​​​เงินบาทแข็ง​​ ​​ขณะที่สินค้า​​​ส่วน​​​ใหญ่​​​ที่​​​เป็น​​​ของคนไทยขนาดกลางลงไปมีอำ​​​นาจต่อรองต่ำ​​​ใน​​​การกำ​​​หนดราคาส่งออก​​ ​​แบกรับภาระกำ​​​ไรต่ำ​​​เพราะ​​​เน้นปริมาณส่งออก​​ ​​ซึ่ง​​​อาจ​​​อยู่​​​ได้​​​ไม่​​​นาน​​ (ดูกราฟ) ​​และ​​​ส่วน​​​ใหญ่​​​เป็น​​​สินค้า​​​เกษตร​​ ​​ได้​​​แก่สินค้า​​​เกษตร​​​และ​​​อุตสาหกรรมเกษตร​​ (มี​​ import content ​​น้อยกว่า​​ 20%) ​​ผลิตภัณฑ์ยาง​​ (21.6%) ​​เคมีภัณฑ์​​ (29%) ​​ไม้​​​และ​​​เฟอร์นิ​​​เจอร์​​ (30.5%) ​​อัญมณี​​​และ​​​เครื่องประดับ​​ (46.8%)

หากเงินบาท​​​ยัง​​​คงแข็งค่าต่อไป​​ ​​และ​​​แข็งค่ามากเมื่อเปรียบเทียบ​​​กับ​​​คู่​​​แข่งสำ​​​คัญ​​ ​​ซึ่ง​​​จะ​​​ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม​​​อื่นๆ​​ ​​ที่​​​เกี่ยว​​​เนื่อง​​​เป็น​​​ลูกโซ่​​​ถึง​​​อุตสาหกรรมต้นน้ำ​​​และ​​​เกษตรกร​​ ​​เนื่อง​​​จาก​​​ผู้​​​ส่งออก​​​ต้อง​​​ผลักภาระ​​​ไป​​​ให้​​ ​​ด้วย​​​การต่อรองราคาวัตถุดิบเพื่อ​​​ให้​​​สามารถ​​​ดำ​​​เนินธุรกิจต่อไป​​​ได้​​ ​​ผลกระทบ​​​ใน​​​เชิงมหภาคก็​​​จะ​​​เกิดขึ้น​​​และ​​​ซ้ำ​​​เติมเศรษฐกิจ​​​โดย​​​รวม​​ ​​หากอุตสาหกรรมต้นน้ำ​​​และ​​​เกษตรกรถูกกดราคามาก​​ ​​อาจ​​​จะ​​​กระทบต่ออุปทานวัตถุดิบ​​​และ​​​ส่งต่อ​​​เนื่อง​​​กับ​​​การผลิต​​​และ​​​การส่งออก​​ ​​เงื่อนไขการส่งออก​​​โดย​​​เน้นปริมาณเพื่อรักษากำ​​​ไร​​​ไว้​​ ​​ขณะที่ราคาขยับขึ้น​​​ไม่​​​ได้​​​ก็​​​จะ​​​ถูกกระทบ​​ ​​เมื่อ​​​ถึง​​​เวลา​​​นั้น​​​มูลค่าส่งออกอาจ​​​จะ​​​กระทบ​​​จาก​​​ทั้ง​​​ปัจจัยด้านปริมาณ​​​และ​​​ราคาควบคู่​​​กัน​​​ไป

ยิ่งไปกว่า​​​นั้น​​ ​​นอก​​​จาก​​​ประ​​​เด็นการต่อรองราคาวัตถุดิบ​​​จาก​​​อุตสาหกรรมต้นน้ำ​​​และ​​​เกษตรกร​​​แล้ว​​ ​​ผู้​​​ส่งออกบาง​​​ส่วน​​​อาจแก้ปัญหา​​​ด้วย​​​การนำ​​​เข้า​​​วัตถุดิบแทนการ​​​ใช้​​​วัตถุดิบ​​​ใน​​​ประ​​​เทศ​​ ​​ภาวะดังกล่าว​​​จะ​​​กระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื่อมโยง​​​ใน​​​ประ​​​เทศ​​ ​​และ​​​ผู้​​​ผลิต​​​ใน​​​อุตสาหกรรมต้นน้ำ​​​จะ​​​ยิ่ง​​​ได้​​​รับผลกระทบ​​​เพราะ​​​ส่งออก​​​ไม่​​​ได้​​​ขณะที่​​​ไม่​​​มีตลาด​​​ใน​​​ประ​​​เทศรองรับ

ตัวอย่างที่​​​เกิดขึ้น​​​แล้ว​​​คืออุตสาหกรรมรองเท้า​​ ​​ใน​​​ปี​​ 2550 ​​มีการนำ​​​เข้า​​​วัตถุดิบที่​​​ใช้​​​ใน​​​การผลิต​​ ​​เช่น​​ ​​หนัง​​ ​​สิ่งทอ​​ ​​เคมีภัณฑ์มากขึ้น​​ ​​จนปัจจุบันสัด​​​ส่วน​​​การนำ​​​เข้า​​​ต่อวัตถุดิบ​​​ใน​​​ประ​​​เทศสูง​​​ถึง​​ 70:30 ​​เทียบ​​​กับ​​​ปี​​ 2549 ​​ที่สัด​​​ส่วน​​​ดังกล่าว​​​อยู่​​​ที่​​ 50:50 ​​อุตสาหกรรมสิ่งทอ​​ ​​สินค้าปลายน้ำ​​ ​​เช่นหันไปนำ​​​เข้า​​​ผ้าผืนแทน​​ ​​สินค้ากลางน้ำ​​ ​​เช่นผ้าผืนหันไปนำ​​​เข้า​​​เส้นใยแทนวัตถุดิบ​​​ใน​​​ประ​​​เทศ​​

บาทแข็งลงลึกหวั่นรากหญ้า​​​เปื่อย

นายนิพนธ์​​ ​​บุญญามณี​​ ​​ประธานกรรมการบริหาร​​ ​​บริษัท​​ ​​สยามอินเตอร์​​​เนชั่นแนลฟู๊ด​​ ​​จำ​​​กัด​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​ใน​​​แง่ของเกษตรกร​​ ​​ผู้​​​เลี้ยงกุ้ง​​ ​​ข้าว​​ ​​ยางพารา​​ ​​มันสำ​​​ปะหลัง​​ ​​ล้วนแต่​​​เป็น​​​ผู้​​​อ่อนแอ​​ ​​ไม่​​​สามารถ​​​ที่​​​จะ​​​ปกป้องตนเอง​​​ได้​​ ​​ไม่​​​สามารถ​​​ที่​​​จะ​​​ไปซื้อประ​​​กัน​​​ความ​​​เสี่ยงค่า​​​เงินบาท​​​ได้​​ ​​สิ่งเหล่านี้ทางการ​​​จะ​​​ปล่อยไปตามยถากรรม​​​ไม่​​​ได้​​ ​​ต้อง​​​ลง​​ ​​มาดู​​​แล​​ ​​แม้​​​จะ​​​บอกว่า​​​ผู้​​​ส่งออกดู​​​แลตนเอง​​​ได้​​ ​​แต่อย่าลืมว่า​​​เกษตรกร​​​เขา​​​ป้อง​​​กัน​​​ตัวเอง​​​ไม่​​​ได้​​ ​​แม้วันนี้รัฐ​​​ต้อง​​​ใช้​​​เงินมหาศาล​​​ใน​​​การแทรกแซงค่า​​​เงินบาท​​ ​​แต่อย่างน้อยที่สุด​​​ต้อง​​​ให้​​​ความ​​​มั่นใจ​​​กับ​​​เกษตรกร​​/ ​​กลุ่ม​​​ผู้​​​ส่งออก​​​ได้​​​ว่า​​ ​​ค่าที่​​​แท้จริงของเงินบาท​​​จะ​​​อยู่​​​ระดับ​​​ใด​​ ​​รัฐ​​​จะ​​​ต้อง​​​ส่งสัญญาณ​​​ให้​​​เขา​​​มี​​​ความ​​​มั่นใจ​​

"พอเงินบาทแข็ง​​ ​​มันไปกระทบ​​​กับ​​​ราย​​​ได้​​ ​​ตอนนี้ก็​​​เริ่มลดกำ​​​ลังการผลิต​​ ​​แต่ที่กำ​​​ลังกังวลใจมากตอนนี้คือการตกลงซื้อขายมันยากขึ้นทุกวัน​​ ​​เราก็​​​ไม่​​​กล้าที่​​​จะ​​​รับออร์​​​เดอร์ลูกค้า​​ ​​เพราะ​​​ไม่​​​รู้ว่าบาทมัน​​​จะ​​​แข็งไปที่​​​เท่า​​​ไร​​ ​​ผมแค่ขอ​​​ความ​​​กรุณาคน​​​ใน​​​รัฐบาลลงมาดูข้อเท็จจริงบ้าง​​ ​​วันนี้ทุกคนเหน็ด​​ ​​เหนื่อย​​ ​​รากแก้ว​​​หรือ​​​ใครก็ตาม​​​ถ้า​​​ปล่อย​​​ไว้​​​เปื่อยแน่​​ ​​วันนี้ภาคการผลิตจริงๆ​​ ​​กำ​​​ลัง​​​จะ​​​อยู่​​​ไม่​​​ได้​​" ​​นายนิพนธ์กล่าว​​

ห้องเย็นจวกรัฐชี้ลดการผลิต​​/​​ปลดคน

นายพจน์​​ ​​อร่ามวัฒนานนท์​​ ​​นายกสมาคมอาหารแช่​​​เยือกแข็ง​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​ใน​​​ส่วน​​​ของกุ้งปัญหาขณะนี้​​​ได้​​​ขยายผลกระทบลงไป​​​ถึง​​​ภาคการผลิต​​​แล้ว​​ ​​มีการลดกำ​​​ลังการผลิต​​ ​​บางรายล้มหายไป​​ ​​การส่งออกสินค้ากลุ่มกุ้งมีสัด​​​ส่วน​​​สูง​​ 80% ​​เมื่อเปรียบการส่งออกอาหารรวม​​ ​​มีคนเกี่ยวข้อง​​​ถึง​​ 20 ​​ล้านคน​​ ​​ดัง​​​นั้น​​ ​​ทางออกแรกคือแบงก์ชาติ​​ ​​และ​​​หน่วยงานที่​​​เกี่ยวข้องควรยอมรับปัญหาก่อน​​ ​​ไม่​​​ใช่​​​เอา​​​เรา​​​ไปเปรียบเทียบ​​​กับ​​​ประ​​​เทศ​​​อื่น​​​ซึ่ง​​​ไม่​​​ได้​​​มีลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจเดียว​​​กับ​​​เรา​​ ​​เช่น​​ ​​ไต้หวัน​​

แนวทางที่รัฐบาล​​​ได้​​​เสนอ​​ ​​อาทิ​​ ​​การลดต้นทุนการผลิต​​ ​​เพิ่มประสิทธิภาพ​​ ​​การประ​​​กัน​​​อัตรา​​​แลกเปลี่ยนทางภาคเอกชนดำ​​​เนินการ​​​อยู่​​​แล้ว​​ ​​แต่ปัญหาอัตรา​​​แลกเปลี่ยน​​​ซึ่ง​​​เป็น​​​ปัญหาหลัก​​ ​​ไม่​​​สามารถ​​​คาด​​​ได้​​​ว่าจน​​​ถึง​​​สิ้นปี​​ 2550 ​​จะ​​​อยู่​​​ที่​​​เท่า​​​ไร​​ ​​ผู้​​​ส่งออก​​​จึง​​​ลดกำ​​​ลังการผลิตรักษาฐานตลาด​​ ​​ปรับลดกำ​​​ลังคนบ้าง​​ ​​บริษัทขนาด​​​ใหญ่​​​ยัง​​​สามารถ​​​แบกรับภาระ​​​ได้​​ ​​แต่ราย​​​เล็ก​​​จะ​​​ได้​​​รับผลกระทบที่รุนแรงกว่า​​

นายชนินทร์​​ ​​ชลิศราพงศ์​​ ​​กรรมการกลุ่มปลาทูน่า​​ ​​สมาคม​​​ผู้​​​ผลิตอาหารสำ​​​เร็จรูป​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​หากรัฐบาล​​​ยัง​​​ไม่​​​สามารถ​​​แก้​​​ไขปัญหาบาทแข็งรวด​​​เร็ว​​​ได้​​ ​​คาดว่า​​​จะ​​​สูญเสียราย​​​ได้​​​จาก​​​การส่งออก​​ ​​ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนี้​​​ได้​​​รับผลกระทบ​​​จาก​​​วัตถุดิบขาดแคลน​​ ​​ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น​​​เป็น​​ 1,400 ​​เหรียญสหรัฐต่อตัน​​ ​​จาก​​ 900 ​​เหรียญสหรัฐต่อตัน​​ ​​ผู้​​​ส่งออกเฉลี่ย​​ 40-50% ​​ลดการผลิต​​ ​​บางโรงงานก็ลดการจ้างงาน​​ ​​หรือ​​​เลิกจ้าง​​ ​​กระทบ​​​กับ​​​แรงงานที่​​​เกี่ยวข้อง​​​กับ​​​อุตสาหกรรมนี้มีประมาณ​​ 1 ​​ล้านคน​​ ​​หากรอจน​​​ถึง​​​เดือนตุลาคม​​​ซึ่ง​​​เป็น​​​ฤดูหนาว​​ ​​ปลาขึ้นมา​​​ให้​​​จับ​​​ได้​​​มากขึ้นคง​​​จะ​​​มีปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น​​​แล้ว​​​ปัญหาวัตถุดิบก็คง​​​จะ​​​ดีขึ้น​​ ​​แต่หากรัฐบาล​​​ยัง​​​ไม่​​​สามารถ​​​แก้​​​ไขปัญหาค่า​​​เงินบาท​​​ได้​​ ​​ราย​​​ได้​​​จาก​​​การส่งออกก็คงหายไปไตรมาสละ​​ 30% ​​เหลือเพียง​​ 8,000 ​​ล้านบาท​​ ​​คง​​​ไม่​​​ถึง​​​เป้าหมายที่วาง​​​ไว้

นายยุทธศักดิ์​​ ​​สุภสร​​ ​​ผู้​​​อำ​​​นวยการสถาบันอาหาร​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​บาทแข็ง​​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารรวม​​​แล้ว​​ 4-5 ​​พันล้านเหรียญ​​ ​​หรือ​​​เท่า​​​กับ​​​ว่าการแข็งค่า​​​เงินบาทขึ้นทุก​​ 1 ​​บาท​​ ​​ก็​​​จะ​​​เกิดการสูญเสียราย​​​ได้​​​ประมาณ​​ 1.1 ​​หมื่นล้านเหรียญ​​ ​​หรือ​​ 1.9% ​​ของมูลค่าการส่งออกอาหารรวมประมาณ​​ 5-6 ​​แสนล้านบาท​​ ​​ไม่​​​เช่น​​​นั้น​​​อุตสาหกรรมอาหาร​​​ซึ่ง​​​มีการ​​​ใช้​​​วัตถุดิบภาย​​​ใน​​​ประ​​​เทศสัด​​​ส่วน​​​สูง​​ ​​ก็​​​จะ​​​เป็น​​​กลุ่มที่​​​ไม่​​​สามารถ​​​แข่งขัน​​​ได้​​​อีกต่อไป​​

สิ่งทอหนีตายแห่ย้ายฐานผลิต

นายสมบูรณ์​​ ​​เจือเสถียรรัตน์​​ ​​กรรมการบริหาร​​ ​​บริษัท​​ ​​ไทยการ์​​​เม้นต์​​​เอ็กซ์ปอร์ต​​ ​​จำ​​​กัด​​ ​​ผู้​​​ส่งออกเสื้อผ้าสำ​​​เร็จรูปราย​​​ใหญ่​​​ของไทย​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​ใน​​​ปี​​ 2549 ​​ไทยการ์​​​เม้นต์ฯมีราย​​​ได้​​​จาก​​​การส่งออก​​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนแรก​​ 52 ​​ล้านเหรียญสหรัฐ​​ ​​คิด​​​เป็น​​​เงินบาท​​ 2,600 ​​ล้านบาท​​ ​​แต่​​​ใน​​​ช่วง​​ 5 ​​เดือนแรกของปี​​ 2550 ​​มีราย​​​ได้​​ 60 ​​ล้านเหรียญสหรัฐ​​ ​​คิด​​​เป็น​​​เงินบาท​​ 2,100 ​​ล้านบาท​​ ​​ทั้ง​​​ที่ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น​​​ถึง​​ 12.5%

ดัง​​​นั้น​​​ใน​​​เบื้องต้น​​​จึง​​​เริ่ม​​​ใช้​​​วิธีย้ายออร์​​​เดอร์บาง​​​ส่วน​​​ไป​​​ให้​​​โรงงาน​​​ใน​​​เครือไทยการ์​​​เม้นต์ฯ​​ ​​เวียดนาม​​ ​​และ​​​จีน​​ ​​ใน​​​สัด​​​ส่วน​​​ที่​​​ไม่​​​มากนัก​​ ​​แต่หากค่า​​​เงินบาท​​​ยัง​​​แข็งค่าต่อ​​​เนื่อง​​ ​​เราอาจ​​​จะ​​​ย้ายออร์​​​เดอร์​​​ไปต่างประ​​​เทศมากขึ้น​​

"​​ไทยการ์​​​เม้นต์ฯ​​​เป็น​​​โรงงานทันสมัยมาก​​ ​​ผลกระทบมา​​​จาก​​​ค่า​​​เงินบาทแข็ง​​​เป็น​​​หลัก​​ ​​โดย​​​มีการนำ​​​เข้า​​​วัตถุดิบ​​​จาก​​​ต่างประ​​​เทศ​​ 30% ​​ส่วน​​​นี้​​​ไม่​​​ได้​​​รับผลกระทบ​​ ​​แต่​​​เรา​​​ใช้​​​เงินบาท​​​ใน​​​การจ่ายค่า​​​แรง​​​และ​​​ค่าบริหารงานต่างๆ​​ ​​หากค่า​​​เงินบาท​​​ยัง​​​ผันผวน​​ ​​ถึง​​​เรา​​​จะ​​​เพิ่มประสิทธิภาพแค่​​​ไหน​​ ​​ลดต้นทุนไป​​​เท่า​​​ไร​​ ​​ก็​​​ไม่​​​สามารถ​​​แก้ปัญหานี้​​​ได้​​" ​​นายสมบูรณ์กล่าว

​​ขณะนี้ปัญหาค่า​​​เงินบาทกำ​​​ลังทำ​​​ให้​​​นักลงทุนขาด​​​ความ​​​เชื่อมั่น​​ ​​เนื่อง​​​จาก​​​รัฐบาล​​​ไม่​​​มีนโยบาย​​​ใน​​​เรื่องนี้ที่ชัดเจน​​ ​​แนวทางแก้ปัญหาคือ​​ ​​รัฐบาลควรกำ​​​หนดมาตรการที่ชัดเจน​​​ใน​​​เรื่องนี้​​ ​​มิ​​​เช่น​​​นั้น​​​นักลงทุน​​​ใน​​​กลุ่มสิ่งทอคง​​​ต้อง​​​ย้ายฐานการผลิตไปประ​​​เทศ​​​อื่น​​

ด้านนายชัยพงศ์​​ ​​เวชมามณเฑียร​​ ​​ประธาน​​ ​​ลิ​​​เบอร์ตี้​​ ​​อินเตอร์​​ ​​กรุ๊ป​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​ขณะนี้กลุ่มลิ​​​เบอร์ตี้​​​และ​​​พันธมิตร​​ ​​ซึ่ง​​​ประกอบ​​​ด้วย​​​บริษัททองเสียง​​ ​​และ​​​อี​​​เกิลสปีด​​ ​​ได้​​​รวมตัว​​​กัน​​​ขยายฐานการผลิตไป​​​ยัง​​​ประ​​​เทศเวียดนาม​​ ​​จ​​.​​เบ๋นแตร​​ (Ben Tre) ​​และ​​​จะ​​​เปิดดำ​​​เนินการ​​​ใน​​​ปีนี้​​ ​​โดย​​​มีกำ​​​ลังการผลิต​​ 3-4 ​​แสนตัวต่อเดือน​​ ​​เพื่อผลิตเสื้อผ้า​​​ให้​​​กับ​​​ลูกค้ากลุ่มสินค้าผลิตกีฬา​​​แบรนด์ต่างๆ​​ ​​อาทิ​​ ​​อาดิดาส​​ ​​ไนกี้​​ ​​พูม่า​​ ​​เป็น​​​ต้น​​ ​​นอก​​​จาก​​​นี้​​​ผู้​​​ส่งออกสิ่งทอหลายรายเริ่ม​​​เข้า​​​ไปลงทุน​​​ใน​​​ลาว​​ ​​โดย​​​ได้​​​รับสิทธิพิ​​​เศษทางภาษีศุลกากร​​ (จี​​​เอสพี) ​​ใน​​​การส่งออกไป​​​ยัง​​​สหรัฐ​​

นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นหดหาย

นายประกิจ​​ ​​ชินอมรพงษ์​​ ​​อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย​​ ​​และ​​ 1 ​​ใน​​​คณะกรรมการสหพันธ์ท่องเที่ยวแห่งประ​​​เทศไทย​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​ทันทีที่​​​เงินบาทแข็งค่าขึ้นกลุ่มเจ้าของกิจการบริษัทนำ​​​เข้า​​​นักท่องเที่ยวต่างประ​​​เทศ​​ (outbound) ​​ผู้​​​บริหารสมาคมโรงแรมไทย​​ ​​และ​​​กลุ่มสมาคมนำ​​​คนไทยไปเที่ยวต่างประ​​​เทศ​​ (outbound) ​​ประ​​​เมินสถานการณ์​​​และ​​​มี​​​ความ​​​เห็นตรง​​​กัน​​​ว่า​​ ​​นักท่องเที่ยวญี่ปุ่น​​​จะ​​​เป็น​​​ตลาดกลุ่มแรกที่มีจำ​​​นวนลดลงทันที​​ ​​เนื่อง​​​จาก​​​ค่า​​​เงินเยนก็อ่อนตัวลงอย่างมาก​​​จาก​​​เดิม​​ 100 ​​เยน​​ ​​แลก​​​ได้​​​กว่า​​ 35 ​​บาท​​ ​​ขณะนี้​​​เหลือประมาณ​​ 27 ​​บาท​​​เท่า​​​นั้น

ขณะนี้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวกำ​​​ลัง​​​เป็น​​​ห่วงสถานการณ์อินบาวนด์ญี่ปุ่นมากกว่าตลาด​​​อื่นๆ​​ ​​เนื่อง​​​จาก​​​เป็น​​​ลูกค้าคุณภาพ​​​ใช้​​​จ่ายเงินต่อคนต่อวันสูง​​ ​​แต่ช่วงครึ่งปี​​ 2550 ​​จาก​​​เหตุการณ์รุนแรง​​ 3 ​​จังหวัดชายแดนภาค​​​ใต้​​​ต่อ​​​เนื่อง​​​ถึง​​​เหตุระ​​​เบิด​​​ใน​​​กรุงเทพฯ​​ ​​ทำ​​​ให้​​​นักท่องเที่ยวหวั่นเกรง​​​ความ​​​ไม่​​​ปลอดภัย​​​จึง​​​ชะลอ​​​เข้า​​​มาท่องเที่ยวเมืองไทย​​ ​​สถิติ​​ 5 ​​เดือนแรกลดลงกว่า​​ 10% ​​ยิ่งมา​​​เจอค่า​​​เงินเยนอ่อนก็​​​จะ​​​ยิ่งทับถม​​​ให้​​​ตลาดหดตัวมากกว่าปกติอาจ​​​จะ​​​เกิน​​ 15% ​​ก็​​​เป็น​​​ได้​​ ​​จาก​​​ปกติจำ​​​นวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น​​​เข้า​​​เมืองไทยปีละ​​​เกือบ​​ 1 ​​ล้านคน

นายอนุพงษ์​​ ​​กิตติลักษนนท์​​ ​​กรรมการ​​​ผู้​​​จัดการ​​ ​​บริษัท​​ ​​ที​​.​​วี​​.​​แอร์บุ๊คกิ้ง​​ ​​จำ​​​กัด​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​สถานการณ์ตลาดคนไทยไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นกลับเพิ่มขึ้น​​ ​​เป็น​​​ผลมา​​​จาก​​​สายการบินนานาชาติพร้อมใจ​​​กัน​​​ทำ​​​โปรโมชั่นช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว​​ 5 ​​วัน​​ 4 ​​คืน​​ ​​ราคาตั๋ว​​ ​​ไป​​-​​กลับ​​ ​​กรุงเทพฯ​​-​​ญี่ปุ่น​​ (โตเกียว​​, ​​โอซากา) ​​ลดราคา​​​เหลือเพียง​​ 16,900 ​​บาท​​ ​​และ​​​แพ็กเกจท่องเที่ยวมีราคาช็อกตลาด​​ 5-6 ​​วัน​​ ​​เคยขายเกิน​​ 45,000 ​​บาท​​/​​คน​​ ​​ก็​​​เหลือเพียง​​ 39,000 ​​บาท​​/​​คน​​ ​​รวมทุกอย่าง

โดย​​​ภาพรวม​​​ผู้​​​ประกอบการเอาต์บาวนด์กล่าวเหมือน​​​กัน​​​ว่า​​ ​​ตั้งแต่กรกฎาคมนี้​​ ​​หลังค่า​​​เงินบาทแข็งเงินสกุลเยนอ่อนตัว​​ ​​จะ​​​เป็น​​​แรงกระตุ้น​​​ให้​​​คนไทยหันไปซื้อทัวร์ญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น​​ ​​แต่ละ​​​เดือน​​​จะ​​​มีคนไทยเดินทางไปญี่ปุ่นเฉลี่ย​​ 800-1,000 ​​คน

เอสเอ็มอี​​​เชียง​​​ใหม่​​​เจ๊งระนาว

นายยุทธพงศ์​​ ​​จิระประภาพงศ์​​ ​​กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประ​​​เทศไทย​​ ​​รองประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ​​ ​​กล่าวว่า​​ ​"​​ผู้​​​ส่งออกชะลอการนำ​​​เข้า​​​วัตถุดิบต่อ​​​เนื่อง​​​มาหลายเดือน​​ ​​เพราะ​​​เมื่อผลิตส่งออกไปก็ขาดทุน​​ ​​ทุกวันนี้ทำ​​​ธุรกิจกำ​​​ไรเกิน​​ 10% ​​ก็ถือว่า​​​เยี่ยม​​​แล้ว​​ ​​มา​​​เจอค่า​​​เงินบาทแข็งตัวต่อ​​​เนื่อง​​​เกิน​​ 15% ​​อย่างนี้ก็ยาก​​​จะ​​​อยู่​​​ได้​​"

ผู้​​​สื่อข่าวรายงานว่า​​ ​​ค่า​​​เงินบาทแข็งต่อ​​​เนื่อง​​​ทำ​​​ให้​​​โรงงานเซรามิก​​​ใน​​ ​​จ​​.​​ลำ​​​ปางปิดตัวไป​​​แล้ว​​​กว่าสิบราย​​ ​​เพราะ​​​ที่ผ่านมา​​​เผชิญปัญหาการแข่งขันอย่างหนัก​​​กับ​​​จีน​​ ​​เมื่อหันมา​​​ใช้​​​กลยุทธ์ราคาสู้​​ ​​ก็พบ​​​กับ​​​ปัญหาค่า​​​เงินบาท​​​ซ้ำ​​​เติมจนขาดสภาพคล่อง​​ ​​แม้​​​แต่รายที่พยายามปรับตัวหาตลาดระดับบน​​ ​​และ​​​เน้นการออกแบบจนมีตลาดของตัวเองอย่างเชลียงเซรามิค​​ ​​จ​​.​​เชียง​​​ใหม่​​ ​​ที่​​​เคย​​​ได้​​​รับรางวัลระดับชาติหลายครั้ง​​ ​​ก็ประสบปัญหา​​​ต้อง​​​ลดคนงานจำ​​​นวนมาก

นายมาลีราช​​ ​​ปา​​​เต็ล​​ ​​ประธานสภาอุตสาห​​ ​​กรรม​​ ​​แห่งประ​​​เทศไทย​​ ​​จังหวัดลำ​​​ปาง​​ ​​กล่าวว่า​​ ​​มี​​​โรงงานเซรามิกหลายรายปิดตัว​​​เพราะ​​​ไม่​​​สามารถ​​​แข่งขัน​​​ได้​​ ​​โดย​​​ส่วน​​​หนึ่งมา​​​จาก​​​ค่า​​​เงินบาท​​ ​​รัฐบาลควร​​​เข้า​​​มา​​​ช่วย​​​เหลือ​​​โดย​​​ออกมาตรการเร่งด่วน​​

ส่วน​​​นายทวีศักดิ์​​ ​​ฟุ้งเกียรติ​​​เจริญ​​ ​​กรรมการ​​​ผู้​​​จัดการ​​ ​​บรรษัทประ​​​กัน​​​สินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม​​ (บสย​​.) ​​กล่าวว่า​​ ​​ลูกค้า​​​ผู้​​​ส่งออกหลายรายชำ​​​ระหนี้​​​ไม่​​​ตรงกำ​​​หนด​​ ​​ได้​​​ตรวจสอบ​​​และ​​​หาทาง​​​ช่วย​​​เหลือ​​ ​​เพื่อ​​​ไม่​​​ให้​​​กลาย​​​เป็น​​​หนี้​​​เสีย​​

"​​เริ่มเจออาการ​​​ไม่​​​ดีค่อนข้างมาก​​ ​​บางราย​​​ใช้​​​สินเชื่อ​​​ไม่​​​ถึง​​​ปี​​​เริ่มมีปัญหา​​ ​​เรา​​​ช่วย​​​เหลือเต็มที่​​​เพราะ​​​เป็น​​​สถาบันการเงินของรัฐ​​ ​​รัฐบาลคงมีมาตรการออกมา​​​ช่วย​​​อีก​​ ​​เพราะ​​​ลำ​​​พังเรา​​​เอง​​​ช่วย​​​อะ​​​ไร​​​ไม่​​​ได้​​​มาก​​ ​​และ​​​ภาย​​​ใต้​​​สถานการณ์​​​เช่นนี้​​​เชื่อว่าสัด​​​ส่วน​​​หนี้​​​ไม่​​​ก่อ​​​ให้​​​เกิดราย​​​ได้​​​ของ​​ ​​บสย​​.​​ใน​​​ปีนี้​​​จะ​​​ขยับตัวขึ้น​​​จาก​​​ปัจจุบัน​​​อยู่​​​ที่​​ 14%"

ดัชนีชี้ขีด​​​ความ​​​สามารถ

ผู้​​​สื่อข่าวรายงานว่า​​ ​​นับแต่ปี​​ 2549 ​​เป็น​​​ต้นมา​​ ​​ดัชนีค่า​​​เงินบาท​​ ​​หรือ​​ Nominal Effective Exchange Rate : NEER ​​และ​​​ดัชนีค่า​​​เงินที่​​​แท้จริง​​ (ดัชนีค่า​​​เงินที่มีการปรับเปลี่ยน​​ (Revise) ​​ข้อมูลอัตรา​​​เงินเฟ้อของแต่ละประ​​​เทศที่​​ ​​ธปท​​.​​นำ​​​อัตรา​​​แลกเปลี่ยนมาคำ​​​นวณดัชนีค่า​​​เงิน) ​​หรือ​​ Real Effective Exchange Rate : REER ​​ได้​​​ปรับตัว​​ ​​ขึ้นอย่างต่อ​​​เนื่อง​​ ​​ซึ่ง​​​การปรับตัวขึ้นดังกล่าว​​​เป็น​​ ​​ตัวชี้​​​ถึง​​​ความ​​​สามารถ​​​ใน​​​การแข่งขันด้านราคาของ​​​ผู้​​​ส่งออกไทยที่ลดลงเมื่อเทียบ​​​กับ​​​ประ​​​เทศคู่​​​แข่ง​​

โดย​​ NEER ​​และ​​ REER ​​ได้​​​ปรับตัวขึ้น​​​จาก​​​ต้นปี​​ 2549 ​​ที่ระดับ​​ 71.28 ​​และ​​ 81.40 ​​เป็น​​ 76.98 ​​และ​​ 88.97 ​​ใน​​​ต้นปี​​ 2550 ​​ตามลำ​​​ดับ​​ ​​กระทั่งสิ้นเดือน​​ ​​มิ​​.​​ย​​. ​​ค่า​​ NEER ​​ขยับขึ้น​​​เป็น​​ 79.11 ​​และ​​​ค่า​​ REER ​​อยู่​​​ที่​​ 92 ​​ณ​​ ​​สิ้นเดือน​​ ​​พ​​.​​ค​​. (ล่าช้ากว่า​​ NEER ​​ประมาณ​​ 1 ​​เดือน​​ ​​เนื่อง​​​จาก​​​ต้อง​​​คำ​​​นวณเงินเฟ้อของประ​​​เทศที่​​ ​​ธปท​​.​​นำ​​​เงินมาคำ​​​นวณดัชนีค่า​​​เงิน) ​​ทั้ง​​​นี้การคำ​​​นวณค่า​​ NEER ​​และ​​ REER ​​จะ​​​คำ​​​นวณ​​​จาก​​​สกุลเงินของประ​​​เทศคู่ค้า​​​และ​​​คู่​​​แข่ง​​​ทั้ง​​​หมด​​ 21 ​​สกุล​​ ​​โดย​​​ให้​​​น้ำ​​​หนักตาม​​​ความ​​​สำ​​​คัญ​​​ใน​​​ฐานะคู่ค้า​​​และ​​​คู่​​​แข่ง​​​ใน​​​ตลาดโลก​​

อย่างไรก็ตามแม้ดัชนีชี้วัด​​​ความ​​​สามารถ​​​การแข่งขันด้านราคา​​​จะ​​​ลดลง​​ ​​แต่ราย​​​ได้​​​เกษตรกร​​​ยัง​​​คงขยายตัวอย่างต่อ​​​เนื่อง​​ ​​โดย​​​ใน​​​เดือน​​ ​​พ​​.​​ค​​. 2550 ​​ขยายตัว​​ 31.1% ​​เทียบ​​​กับ​​​ช่วงเดียว​​​กัน​​​ของปีที่ผ่านมา​​ ​​จาก​​ 27.7% 28.4% ​​ใน​​​เดือน​​ ​​เม​​.​​ย​​. ​​และ​​ ​​ไตรมาสแรกตามลำ​​​ดับ​​ ​​โดย​​​เป็น​​​การขยายตัวด้านปริมาณ​​​เป็น​​​สำ​​​คัญที่​​ 15.2% ​​จาก​​ 9.8% ​​ใน​​​เดือน​​ ​​เม​​.​​ย​​. ​​แต่ก็น่าสังเกตว่ามีการขยายตัวด้านราคา​​ 13.8% ​​ชะลอ​​​จาก​​ 16.3% ​​ใน​​​เดือน​​ ​​เม​​.​​ย​​. ​​และ​​ 21.3% ​​ใน​​​ไตรมาสแรก​​

ทั้ง​​​นี้​​ ​​ธปท​​.​​ได้​​​ระบุ​​​ถึง​​​แนวโน้มราคาสินค้า​​​เกษตร​​​โดย​​​รวมของไทย​​​ใน​​​รายงานเศรษฐกิจประจำ​​​เดือน​​ ​​พ​​.​​ค​​. ​​โดย​​​คาดว่าราคาสินค้า​​​เกษตรไทย​​​จะ​​​ชะลอตัว​​​จาก​​​ราคาพืชผลสำ​​​คัญที่มี​​​แนวโน้มชะลอตัวตามราคา​​​ใน​​​ตลาดโลก​​​และ​​​อุปทานพืชผล​​​ใน​​​ประ​​​เทศที่​​​เพิ่มขึ้น​​ ​​ราคาปศุสัตว์​​​ยัง​​​คงหดตัว​​​จาก​​​อุปทาน​​​ส่วน​​​เกิน​​ ​​และ​​​ราคาประมงชะลอตัว​​​จาก​​​อุปทานกุ้งที่​​​เพิ่มขึ้น​​ ​​และ​​​อีกผลกระทบหนึ่งต่อราย​​​ได้​​​เกษตรกรคือค่า​​​เงินบาทที่​​​แข็งค่าขึ้น

ข้าวไทยอ่วมแพงกว่าญวน​​ 40 ​​เหรียญ

นายชู​​​เกียรติ​​ ​​โอภาสวงศ์​​ ​​นายกสมาคม​​​ผู้​​​ส่งข้าวออกต่างประ​​​เทศ​​ ​​เปิดเผยว่า​​ ​​หากอัตรา​​​แลกเปลี่ยน​​​ยัง​​​ปรับแข็งค่าขึ้นจน​​​ถึง​​​สิ้นปี​​ ​​คาดว่า​​​จะ​​​ส่งผลกระทบต่อราย​​​ได้​​​จาก​​​การส่งออกราว​​ 2 ​​หมื่นล้านบาท​​ ​​เพราะ​​​อัตรา​​​แลกเปลี่ยน​​​เป็น​​​ปัจจัยสำ​​​คัญที่ทำ​​​ให้​​​ผู้​​​ส่งออกเสียเปรียบคู่​​​แข่งอย่างเวียดนาม​​ ​​ซึ่ง​​​มีอัตรา​​​แลกเปลี่ยนคงที่​​ ​​ระดับ​​ 16,000 ​​ดอง​​/ ​​เหรียญสหรัฐ​​ ​​ซึ่ง​​​ทำ​​​ให้​​​ราคาข้าวไทยสูงกว่า​​​เวียดนาม​​ ​​เพิ่มขึ้น​​​เป็น​​ 40 ​​เหรียญสหรัฐ​​ ​​จาก​​​เดิม​​ 10 ​​เหรียญสหรัฐต่อตัน​​

"สินค้าข้าว​​​ไม่​​​สามารถ​​​เพิ่มมูลค่า​​​หรือ​​​การย้ายฐานการลงทุนเหมือนสินค้า​​​อื่น​​​ได้​​ ​​เพราะ​​​เป็น​​​สินค้าวัตถุดิบ​​ ​​ทำ​​​ได้​​​เพียงประ​​​กัน​​​อัตรา​​​แลกเปลี่ยน​​ ​​บางรายเปลี่ยนสกุลเงิน​​​เป็น​​​ยู​​​โร​​ ​​แต่​​​ผู้​​​ซื้อก็​​​ยัง​​​ต้อง​​​การซื้อดอลลาร์​​​เพราะ​​​จ่ายน้อยกว่า​​ ​​ซึ่ง​​​ใน​​​ที่สุด​​​แล้ว​​​ต้อง​​​ลดราคาวัตถุดิบภาย​​​ใน​​​ประ​​​เทศ​​​จาก​​​เกษตรกร​​ ​​ทั้ง​​​ที่ปีนี้​​​เกษตรกรควร​​​จะ​​​ได้​​​ราคาที่สูงกว่านี้​​ ​​หรือ​​​หาก​​​จะ​​​เปิดตลาด​​​ใหม่​​​ก็ทำ​​​ได้​​​ยาก​​ ​​เพราะ​​​ข้าวไทยกระจายไป​​​ทั่ว​​​โลกเกือบ​​ 120 ​​ประ​​​เทศ​​​แล้ว​​ ​​ส่วน​​​การอาศัยจังหวะส่งออกที่ดี​​​ใน​​​ตลาด​​​ใหม่ๆ​​ ​​อย่าง​​ ​​รัสเซีย​​​หรือ​​​ญี่ปุ่น​​ ​​ซึ่ง​​​ประกาศต้านการนำ​​​เข้า​​​ข้าวสหรัฐ​​ ​​เพราะ​​​เกรงปัญหาจี​​​เอ็มโอ​​ ​​แต่​​​ผู้​​​ส่งออกก็​​​ต้อง​​​เสียภาษีนำ​​​เข้า​​​สูง​​ ​​เพราะ​​​สินค้ากลุ่มนี้มี​​​โควตา​​ ​​และ​​​ไม่​​​ได้​​​อยู่​​​ใน​​​การลดภาษีภาย​​​ใต้​​​เอฟที​​​เอ"


Powered by ScribeFire.

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Value Way : ​ต้อนรับกระทิง นั่งสบายๆ​ ​รอขบวนที่นั่ง​อยู่แล้ว​วิ่งออก

SET Index ​สร้างจุดสูงสุด​ใหม่​ใน​รอบสามสี่ปีที่ผ่านมา​

**สังเกตการณ์ขึ้นรอบนี้​ ​เกิด​จาก​การ​เข้า​ซื้อหุ้นขนาด​ใหญ่​ใน​กลุ่มพลังงาน​ ​ปิ​โตรเคมี​ ​และ​ธนาคาร​ ​ประมาณ​ 10-20 ​บริษัท​ ​ของนักลงทุนต่างชาติ​ ​ไม่​ได้​ซื้อหุ้น​ทั้ง​หมด​ใน​ตลาด​ ​หรือ​ SET50

*บางท่านบอกว่า​เกิด​จาก​การเคลื่อนย้ายเงินทุน​ ​บางท่านว่าหุ้นบ้านเราราคาถูกเมื่อเทียบ​กับ​เพื่อนบ้าน​ ​สองปัจจัยนี้รวม​กัน​ก็น่า​จะ​เป็น​เหตุผลหลัก​ใน​การที่ทำ​ให้​ตลาดหุ้นบ้านเราขึ้น​ได้​อย่างรุนแรง

*อย่างไรก็ตาม​ ​ราคาหุ้น​ต้อง​สะท้อนมูลค่า​ ​แต่อาจ​จะ​เกินมูลค่า​ได้​จาก​จิตวิทยามวลชน​ ​การประ​เมินทางนี้เป็นเรื่องคาดเดายาก ็คิดเพียงว่าตลาดหุ้น​นั้น​ ​จะ​เป็น​ตัวส่งสัญญาณล่วงหน้า​เสมอ​ ​หากตลาดหุ้นขึ้น​ใน​ระยะยาว​ ​นั่นก็หมาย​ความ​ว่านักลงทุนมั่นใจ​ใน​อนาคต​ ​และ​เมื่ออนาคตสดใส​ ​หุ้นมูลค่าที่ถือ​อยู่​ก็น่า​จะ​ได้​รับผลดีผ่านผลประกอบการที่ดี​ไป​ด้วย​ ​สุดท้ายก็​จะ​ส่งผลออกมาทางราคาหุ้นที่​เพิ่มขึ้น​ ​ฉะ​นั้น​จึง​ไม่​มี​ความ​จำ​เป็น​ที่​จะ​ต้อง​ไปปรับตัวรับตลาดหุ้นขาขึ้นแต่อย่าง​ใด

*รถไปขบวนนี้คนเริ่มแน่น​แล้ว​ ​และ​ถ้า​แน่นมากๆ​ ​รถอาจตกราง​ได้​ดังรูป ขอนั่งสบายๆ​ ​รอขบวนที่นั่ง​อยู่แล้ว​วิ่งออกก็​แล้ว​กัน

PE asia=18, Set=12.3, SEA=16

*เมื่อพิจารณาย้อนหลังไป​ 30 ​เดือน​ ​ด้วย​วิธีการหา​ความ​สัมพันธ์​เชิงเปรียบเทียบ​ ​ก็​จะ​พบว่าตลาดไทย​ยัง​คงมี​ Upside ​อีก​ 45% ​หรือ​ระดับดัชนี​ 1230 ​จุด​ ​จะ​กลาย​เป็น​เป้าหมายหลัก​ ​ซึ่ง​ก็มี​ความ​เป็น​ไป​ได้​สูง​ ​เนื่อง​จาก​ SET ​ยัง​มี​ PE ​ต่ำ​เพียง​ 12.3 ​เท่า​ ​เทียบ​กับ​ทวีปเอเชียที่​ 18 ​เท่า​ ​และ​ SEA ​ที่​ 16 ​เท่า​ ​เรา​จึง​เรียก​ได้​ว่ามีการ​ Discount ​อยู่​ 23-32%

*ประ​เด็นที่น่าติดตามว่า​เป้าหมายดังกล่าว​จะ​ถึง​หรือ​ไม่​ ​อยู่​ที่​ 1) ​อัตราดอกเบี้ยสหรัฐ​ ​หากมีการปรับขึ้น​ ​จะ​ส่งผล​ให้​เม็ดเงินชะลอลง​แล้ว​นั่น​จะ​ทำ​ให้​เกิดการปรับพอร์ตรอบ​ใหญ่​ 2) ​การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยปรับตัวขึ้นมาสูงมาก​จะ​ก่อ​ให้​เกิด​ Earnings Gap ​ที่​แคบลง​ ​กระตุ้นการขายทำ​กำ​ไร​ 3) ​ค่า​เงินบาทแข็งค่า​เร็ว​และ​แรงเกินไป​ ​ซึ่ง​เราคาดว่าบริ​เวณ​ 33 ​บาท​ ​แรงซื้อน่า​จะ​ชะลอลง​ ​เนื่อง​จาก​กำ​ไร​จาก​ค่า​เงิน​จะ​เพิ่มขึ้น​ ​ขณะที่ราคาหุ้นไทยก็​จะ​แพงขึ้นตาม​


*​ตลาดหุ้นไทย​ใน​ช่วง​ 6 ​เดือนที่ผ่านมา​ ​มีการปรับตัวขึ้นมา​ 38.7% ​แรงกว่า​ MSCI-Asia Ex Japan ​ที่ปรับขึ้นมา​ 23.4% ​และ​เมื่อเทียบ​กับ​ใน​กลุ่ม​ SEA 5 ​ประ​เทศ​ ​แล้ว​จะ​พบว่า​ไทย​ยัง​มี​ Performance ​ที่​แย่กว่า​เล็ก​น้อยประมาณ​ 2% ​เพราะ​ฉะ​นั้น​หากดัชนี​จะ​ปรับตัวลงก็​จะ​เกิดขึ้น​จาก​ปัจจัยต่างประ​เทศ​เป็น​สำ​คัญ​ ​กล่าวคือ​ ​ดอกเบี้ยขึ้น​ ​หรือ​มีการขายทำ​กำ​ไร​ทั้ง​ภูมิภาค

*คำ​แนะนำ​เราคือ​ ​หากดัชนี​ไม่​ต่ำ​กว่า​ 841 ​จุด​ ​แนะนำ​ซื้อ​หรือ​ถือต่อไป